กลยุทธ์หานเฟย : หลักการบริหารคน ที่จิ๋นซีฮ่องเต้ นำมาใช้ในการก่อสร้างมหาอาณาจักร (ปกแข็ง)
ISBN: 9786167146805
ผู้แต่ง : ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : ศรีปัญญา
ปีที่พิมพ์ : 2559
จำนวนหน้า : 288
หลักการบริหารคน ที่จิ๋นซีฮ่องเต้ นำมาใช้ในการก่อสร้างมหาอาณาจักร
ปรัชญานิพนธ์ของหานเฟยนั้นได้นำเสนอทรรศนะหลัก ซึ่งสืบทอดมาจากสฺวินจื่อผู้เป็นอาจารย์ของเขา ระหว่างที่สฺวินจื่อยังมีชีวิตอยู่นั้นท่านได้ประสบความสำเร็จทั้งในฐานะนักการเมืองและฐานะอาจารย์ผู้เผยแพร่คำสอนของขงจื๊อ แต่สฺวินจื่อไม่เห็นด้วยกับ เม่งจื่อศิษย์เอกอีกคนหนึ่งของขงจื๊อในข้อที่ว่า “ธรรมชาติของมนุษย์เป็นคนดี” โดยสฺวินจื่อโต้แย้งว่า “ธรรมชาติของมนุษย์นั้นมาจากสวรรค์ที่ปราศจากตัวตนและศีลธรรมคุณธรรมใดๆ อารมณ์และความต้องการของมนุษย์มักนำไปสู่ความขัดแย้ง ด้วยเหตุนี้ธรรมชาติของมนุษย์จึงเลวร้าย”
หานเฟยได้ชื่อว่าเป็นนักปรัชญานิตินิยมคนสำคัญ เขาเห็นว่าธรรมชาติมนุษย์นั้นเห็นแก่ตัว จำเป็นต้องมีกฎหรือข้อบังคับไม่ให้เกิดการกระทำความชั่วอย่างเด็ดขาดผู้นำรัฐต้องมีอำนาจเด็ดขาดในการปกครอง การกำหนดคุณและโทษต้องชัดเจน มีกฎหมายที่เคร่งครัด และทุกคนมีความเท่าเทียมกันในทางกฎหมาย ผู้คน พลเมือง ชาวไร่ ชาวนา ต้องเสียภาษีหรือหารายได้เข้ารัฐ ผู้นำของรัฐต้องแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ตามความสามารถมีความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ที่ชัดเจนเพื่อแบ่งเบาภาระของผู้นำ ฯลฯ
ข้อเขียนของหานเฟยจื่อเป็นที่พอพระทัยของ ฮ่องเต้ กษัตริย์ รัฐฉิน ถึงกับรำพึงว่า “หากเราได้มีโอกาสวิสาสะกับผู้รจนาหนังสือเล่มนี้แล้วไซร้แม้นตายก็ไม่เสียดายชีวิต”
หนังสือเล่มนี้จึงเหมาะสำหรับ นักคิด นักปกครอง นักบริหาร จะนำไปปรับใช้ ให้เกิดประโยชน์กับองค์การของตน
หลักการบริหารคน ที่จิ๋นซีฮ่องเต้ นำมาใช้ในการก่อสร้างมหาอาณาจักร
ปรัชญานิพนธ์ของหานเฟยนั้นได้นำเสนอทรรศนะหลัก ซึ่งสืบทอดมาจากสฺวินจื่อผู้เป็นอาจารย์ของเขา ระหว่างที่สฺวินจื่อยังมีชีวิตอยู่นั้นท่านได้ประสบความสำเร็จทั้งในฐานะนักการเมืองและฐานะอาจารย์ผู้เผยแพร่คำสอนของขงจื๊อ แต่สฺวินจื่อไม่เห็นด้วยกับ เม่งจื่อศิษย์เอกอีกคนหนึ่งของขงจื๊อในข้อที่ว่า “ธรรมชาติของมนุษย์เป็นคนดี” โดยสฺวินจื่อโต้แย้งว่า “ธรรมชาติของมนุษย์นั้นมาจากสวรรค์ที่ปราศจากตัวตนและศีลธรรมคุณธรรมใดๆ อารมณ์และความต้องการของมนุษย์มักนำไปสู่ความขัดแย้ง ด้วยเหตุนี้ธรรมชาติของมนุษย์จึงเลวร้าย”
หานเฟยได้ชื่อว่าเป็นนักปรัชญานิตินิยมคนสำคัญ เขาเห็นว่าธรรมชาติมนุษย์นั้นเห็นแก่ตัว จำเป็นต้องมีกฎหรือข้อบังคับไม่ให้เกิดการกระทำความชั่วอย่างเด็ดขาดผู้นำรัฐต้องมีอำนาจเด็ดขาดในการปกครอง การกำหนดคุณและโทษต้องชัดเจน มีกฎหมายที่เคร่งครัด และทุกคนมีความเท่าเทียมกันในทางกฎหมาย ผู้คน พลเมือง ชาวไร่ ชาวนา ต้องเสียภาษีหรือหารายได้เข้ารัฐ ผู้นำของรัฐต้องแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ตามความสามารถมีความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ที่ชัดเจนเพื่อแบ่งเบาภาระของผู้นำ ฯลฯ
ข้อเขียนของหานเฟยจื่อเป็นที่พอพระทัยของ ฮ่องเต้ กษัตริย์ รัฐฉิน ถึงกับรำพึงว่า “หากเราได้มีโอกาสวิสาสะกับผู้รจนาหนังสือเล่มนี้แล้วไซร้แม้นตายก็ไม่เสียดายชีวิต”
หนังสือเล่มนี้จึงเหมาะสำหรับ นักคิด นักปกครอง นักบริหาร จะนำไปปรับใช้ ให้เกิดประโยชน์กับองค์การของตน
สารบัญ
บทที่ 1 ศิลปะการนำ
บทที่ 2 ศิลปะการตัดสินวินิจฉัย
บทที่ 3 ศิลปะการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์
บทที่ 4 ศิลปะการพูดโน้มน้าวใจคน
บทที่ 5 ศิลปะการเพิ่มพูนประสิทธิภาพ
บทที่ 6 ศิลปะการจัดการกับความรัก
บทที่ 7 ศิลปะการตั้งความใฝ่ฝัน