Kledthai.com

ตะกร้า 0

เจ้าชีวิต เจ้าสรรพสิ่ง : การก่อร่างภาพลักษณ์สมัยใหม่ของสถาบันกษัตริย์สยาม (ปกอ่อน)

ISBN: 9786169399483

ผู้แต่ง : เมาริตซิโอ เปเลจจี

ผู้แปล : วริศา กิตติคุณเสรี

สำนักพิมพ์ : ฟ้าเดียวกัน

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2566

จำนวนหน้า : 352

ซีรี่ส์:
หนังสือชุด ทวิพากษ์ ลำดับที่ 1
เริ่มจัดส่ง 25 ก.ค. 66 เป็นต้นไป
ISBN:
9786169399483
ราคาพิเศษ ฿495.00 ราคาปรกติ ฿550.00

หนังสือพร้อมจัดส่งวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป!

หนังสือเล่มนี้นำเสนอการก่อร่างสร้างภาพลักษณ์สมัยใหม่ของรัชกาลที่ 5 เพื่อหักล้างความคิดแบบกษัตริย์นิยมที่ถ่วงค้ำการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยมาเนิ่นนานว่ารัชกาลที่ 5 คือปิยมหาราชผู้พลิกโฉมสยามประเทศให้ทันสมัยโดยละลืมปัจจัยและบริบทของการเข้าสู่ภาวะสมัยใหม่ของไทย ผู้เขียนวิเคราะห์ผ่านหลักฐานชั้นต้นทั้งที่เป็นจดหมายเหตุ บันทึกความทรงจำ และจดหมายโต้ตอบระหว่างรัชกาลที่ 5 กับชนชั้นนำราชสำนักและชาวต่างประเทศ โดยหยิบยกการนำเสนอตัวตนของชนชั้นนำสยามผ่านการปรับเปลี่ยนวิถีบริโภคในราชสำนัก เช่น การแต่งกาย การสะสมข้าวของ การถ่ายรูป ฯลฯ ผ่านการสถาปนาพื้นที่แห่งความศิวิไลซ์ ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างสวนดุสิต ลานพระบรมรูปทรงม้า ฯลฯ และผ่านการจัดแสดงมหรสพสาธารณะ อย่างพระราชพิธีตระการตาและการเข้าร่วมงานนิทรรศการโลก เป็นต้น เพื่อชี้ให้เห็นว่ารัชกาลที่ 5 ไม่เพียงไล่ตามความศิวิไลซ์แบบโลกตะวันตก ดังที่หนังสือเล่มนี้ตั้งฉายานามว่า “เจ้าแห่งสรรพสิ่ง” เท่านั้น หากทั้งหมดนี้ยังเกิดขึ้นพร้อมกับการสถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในแผ่นดินสยามด้วย
.
เมาริตซิโอ เปเลจจี
เมาริตซิโอ เปเลจจี เป็นศาสตราจารย์ที่ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ สอนวิชาด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและการสร้างภาพแทนในประวัติศาสตร์ (historical representation)  เปเลจจีจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโรมและมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย และเป็นผู้เขียนหนังสือ The Politics of Ruins and the Business of Nostalgia (Bangkok: Whtie Lotus, 2002), Thailand: The Worldly Kingdom (London: Reaktion Books, 2007) และ Monastery, Monument, Museum: Sites and Artifacts of Thai Cultural Memory (Honolulu: University of Hawai‘i Press, 2017)

คำนำสำนักพิมพ์
คำนำเสนอฉบับภาษาไทย
กิตติกรรมประกาศ
บทนำ สถาบันกษัตริย์กับสภาวะสมัยใหม่
ตอนที่ 1 วิถีปฏิบัติ
บทที่ 1 วิถีการบริโภค รสนิยม และอัตลักษณ์ของชนชั้นนำสยามที่ปรับเปลี่ยนให้เป็นแบบสมัยใหม่
บทที่ 2 การนำเสนอและภาพแทนตัวตนของชนชั้นนำราชสำนัก
ตอนที่ 2 พื้นที่
บทที่ 3 สนามละเล่นชานเมือง
บทที่ 4 สนามแห่งความเรืองโรจน์
ตอนที่ 3 มหรสพ
บทที่ 5 การปรับรูปโฉมนาฏกรรมแห่งอำนาจ
บทที่ 6 บนเวทีโลก
บทส่งท้าย : สถาบันกษัตริย์กับความทรงจำ
ประวัติผู้เขียน
บรรณานุกรม
ดรรชนี

หนังสือพร้อมจัดส่งวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป!

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง
คุณกำลังรีวิว:เจ้าชีวิต เจ้าสรรพสิ่ง : การก่อร่างภาพลักษณ์สมัยใหม่ของสถาบันกษัตริย์สยาม (ปกอ่อน)
คะแนนของคุณ