*ปกแข็ง* หนังสือ “กษัตริย์จากต่างแดน (On Stranger Kings): อำนาจ ปรัมปรา และอาณานิคม”
ISBN: 9786168215708
ผู้แต่ง : มาร์แชล ชาห์ลินสืฯลฯ
ผู้แปล : วรรณพรรธน์ เฟรนซ์ ฯ
สำนักพิมพ์ : ILLUMINATIONS
‘กษัตริย์จากต่างแดน: อำนาจ ปรัมปรา และอาณานิคม’ ปรีดี หงษ์สต้น : บรรณาธิการ
จุดตั้งต้นของการพัฒนามโนทัศน์เรื่องกษัตริย์แปลกหน้าอยู่ตรงความพยายามเข้าใจอาณานิคมในโลกสมัยใหม่ เพื่ออธิบายว่า ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าอาณานิคมยุโรปและชาวพื้นเมืองนั้น ไม่ใช่การมุ่งกดปราบอำนาจและทำลายระบบทั้งหมดของพื้นเมืองต่างๆ ลงแต่เป็นโครงสร้างการรับมือของผู้ปกครองพื้นเมืองเอง ซึ่งมีประสบการณ์กับกษัตริย์แปลกหน้าอื่นๆ มาโดยตลอด ก่อนหน้าชาวยุโรปมาถึง มโนทัศน์ว่าด้วยกษัตริย์แปลกหน้า จึงเป็นความพยายามท้าทายความเข้าใจความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างตนเองและผู้อื่น ข้างนอกหรือข้างในอันเป็นผลผลิตของสภาวะสมัยใหม่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรอบหลังอาณานิคมที่ทำให้การเข้าใจผลผลิตของโลกสมัยใหม่ แทบจะกลายเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าอาณานิคมยุโรปและดินแดนอาณานิคมเพียงประการเดียว คือมีเจ้าอาณานิคมและอาณานิคม แต่ความจริงมีความซับซ้อน คลุมเครือกว่านั้น อนึ่ง การรวบรวมงานของนักวิชาการจากหลายสาขาวิชาย่อมทำให้การจะหาจุดร่วมไม่ง่ายนัก แต่ทั้งหมดเห็นร่วมกันในการมองปรากฏการณ์ผ่านแนวคิดกษัตริย์จากต่างแดน ในการเข้าใจความสัมพันธ์ของอำนาจ ปรัมปรา และอำนาจอาณานิคมร่วมกัน
บทที่ 1 “ว่าด้วยกษัตริย์จากต่างแดน หรือรูปแบบมูลฐานของการเมืองชีวิต” โดย มาร์แชล ซาห์ลินส์ แปลโดยวรรณพรรธน์ เฟรนซ์ อธิบายความคิดของกษัตริย์จากต่างแดน เป็นจุดตั้งต้นของการอภิปรายความคิดของกษัตริย์จากต่างแดน เป็นจุดตั้งต้นของการอภิปรายว่าด้วยแนวคิดนี้ ผู้อ่านที่ต้องทำความรู้จักกับแนวคิดนี้ พึงจะอ่านบทความนี้ก่อนเป็นพื้น
บทที่ 2 “ปรากฏการณ์คนต่างถิ่นในเอเชียยุคก่อนสมัยใหม่” โดย เฟลิเป เฟอร์นันเดซ อาร์เมสโต แปลโดยวรรณพรรธน์ เฟรนซ์ ถอยขึ้นไปสู่ยุคก่อนสมัยใหม่ และนำความคิดเรื่อง คนต่างถิ่น หรือคนแปลกหน้าเข้าไปอธิบาย บทความนี้พึงได้รับการพิจารณาควบคู่ไปกับบทความของซาห์ลินส์และมีความสำคัญเทียบเคียงกัน
บทที่ 3 “คนต่างถิ่นที่คุ้นเคยและกษัตริย์จากต่างแดน: การเคลื่อนที่ ผู้พลัดถิ่น และคนต่างถิ่นในโลกมาลายูคริสต์ศตวรรษที่ 18” โดย โคห์ เคง เวห์ แปลโดยฮ่ารา ชินทาโร่ เจาะจงไปที่ช่วงเวลาหนึ่งๆ ของประวัติศาสตร์โลกมลายู เป็นบทความอันพยายามจัดความหมายและความหลากหลายของมโนทัศน์นี้ผ่านกรณีตัวอย่าง
บทสุดท้าย “ความขัดแย้ง ความยุติธรรม และรากเหง้าแห่งกษัตริย์แปลกหน้าของการปกครองอาณานิคมในอินโดนีเซียและที่อื่นๆ โดย เดวิด เฮนลีย์ แปลโดยปริญญา นวลเปียน แม้จะเหมือนเป็นการเฉพาะเจาะจงลงไปที่กรณีเฉพาะก็ตามแต่มีนัยของการชี้ชวนให้มองบริบทของยุคอาณานิคมในกรอบใหม่ๆ โดยเฉพาะการทำให้เห็นว่า กษัตริย์แปลกหน้า (เช่น เจ้าอาณานิคมดัตช์) ไม่ใช่เพียงแต่จะไม่ถูกต่อต้านและเป็นที่ต้องการของผู้นำท้องถิ่นเป็นอย่างยิ่ง ในการเข้าช่วยไกล่เกลี่ยและจัดการกับความขัดแย้งภายใน
โดยนัยแล้ว มโนทัศน์เรื่องกษัตริย์แปลกหน้า จึงทำให้เราต้องมองยุคอาณานิคมอีกครั้งว่า มิใช่กระบวนการที่เป็นผลของคู่ตรงข้าม เจ้าอาณานิคม/ดินแดนอาณานิคม (colonisers/colonised) และฝ่ายแรกกระทำต่อฝ่ายหลัง ดังการให้เหตุผลแบบชาตินิยม หากแต่เป็นกระบวนการอันซับซ้อนที่ครอบคลุมไปทั้งหมดในความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างตะวันตก (West) และนอกตะวันตก (non-West) ในประวัติศาสตร์โลก ไม่ว่าดินแดนนั้นๆ จะเป็นอาณานิคมทางตรงหรือไม่ก็ตาม
คำนำ ปรีดี หงษ์สต้น