Kledthai.com

ตะกร้า 0

นิติรัฐนิติธรรม (ฉบับปกอ่อน)

ISBN: 30

ผู้แต่ง : เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง, วริษา องสุพันธ์กุล, ศศิภา พฤกษฎาจันทร์, อภินพ อติพิบูลย์สิน และกล้า สมุทวณิช

ผู้แปล : --

สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์อิลลูมิเนชันส์ เอดิชันส์

ปีที่พิมพ์ : 2567

จำนวนหน้า : 296

ซีรี่ส์:
-
พร้อมส่ง
ISBN:
30
ราคาพิเศษ ฿351.00 ราคาปรกติ ฿390.00

นิติรัฐนิติธรรม: ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาเปรียบเทียบ

บรรณาธิการโดย เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง

คณะผู้เขียน

เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง, วริษา องสุพันธ์กุล, ศศิภา พฤกษฎาจันทร์, อภินพ อติพิบูลย์สิน และกล้า สมุทวณิช

.

หนังสือเล่มนี้นำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับหลักนิติธรรม

อย่างรอบด้านและทันสมัยที่สุดในตลาดวิชาการนิติศาสตร์ไทย

.

“นิติรัฐนิติธรรม: ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาเปรียบเทียบ”

หนังสือรวมบทความจาก 5 นักวิชาการรุ่นใหม่ เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง, วริษา องสุพันธ์กุล, ศศิภา พฤกษฎาจันทร์, อภินพ อติพิบูลย์สิน และกล้า สมุทวณิช ผู้ศึกษาในระบบกฎหมายที่ตนรับผิดชอบ ทั้งระบบจากสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และเยอรมนี ซึ่งเป็นระบบกฎหมายหลักที่นักนิติศาสตร์ใช้อ้างอิงในฐานะตัวแบบอยู่เสมอ โดยผู้เขียนแต่ละคนได้สำรวจที่มาและความหมายของหลักนิติธรรมหรือหลักการชื่ออื่นที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน ก่อนจะยกกรณีศึกษาจากคดีสำคัญในแต่ละเขตอำนาจมาเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจหลักการและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับหลักนิติธรรมของนานาอารยประเทศ ปิดท้ายด้วยการสำรวจหลักนิติธรรมในไทยผ่านศาลรัฐธรรมนูญ

...

“นิติธรรม” เป็นศัพท์ทางนิติศาสตร์ไทยที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมากที่สุดคำหนึ่งในรอบกว่าทศวรรษที่ผ่านมา

.

นับจากปี พ.ศ. 2549 หลักนิติธรรมถูกนำมากล่าวอ้างถึงทั้งโดยนักกฎหมาย นักการเมือง ตลอดจนนักวิชาการและผู้สนใจพัฒนาการของรัฐธรรมนูญไทยโดยทั่วไป นิติธรรมเป็นทั้งหัวข้องานสัมมนา งานวิชาการ วิทยานิพนธ์ หนังสือ หลักสูตรอบรมวิชาชีพชั้นสูง ตลอดจนสอดแทรกเข้าไปในคำวินิจฉัยต่าง ๆ ของศาล...

.

แต่ในรอบสิบกว่าปีที่ผ่านมา เมื่อหันมองดูรอบตัว หลักฐานเชิงประจักษ์ชี้ว่าประชาชนไทยมีเสรีภาพน้อยลง การทุจริตประพฤติมิชอบในวงราชการเพิ่มสูงขึ้น ข่าวการละเมิดกฎหมายโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ข่าวการล่วงละเมิดสิทธิประชาชนเกิดขึ้นรายวัน ที่น้อยลงคือข่าวผู้ละเมิดกฎหมายถูกลงโทษ แม้จะกระทำความผิดได้โจ่งแจ้งเพียงไร ระบบกฎหมายไทยก็สามารถหาข้ออ้างให้ผู้กระทำนั้นเล็ดลอดการลงโทษไปได้ อภิสิทธิ์ปลอดความรับผิดกลายเป็นเรื่องปกติของสังคมไทย

.

ถ้านิติธรรมลงหลักปักฐานในระบบกฎหมายไทยจริง สภาพเช่นนี้ย่อมไม่ควรเกิด

.

ยิ่งไปกว่านั้น นิติธรรมกลายเป็นวาทกรรมที่ใช้แทรกแซงกระบวนการประชาธิปไตยในนามของความดีและความถูกต้อง ศาลรัฐธรรมนูญอ้างใช้หลักนิติธรรมเพื่อล้มการเลือกตั้ง ลงโทษนักการเมืองเลือกตั้ง และสกัดกั้นนโยบายต่าง ๆ ซึ่งล้วนทำให้เกิดความตึงเครียดและความเสื่อมถอยของสถาบันตุลาการ

.

ผลคือภาพลักษณ์ของนิติธรรมไทยที่บิดเบี้ยวอย่างยิ่ง จนกลายเป็นคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นกับแนวคิดนิติธรรมของไทยกันแน่ และอีกคำถามว่า ถึงที่สุดแล้วเรายังควรต้องเคารพหลักนิติธรรมอยู่หรือไม่

.

บทความในหนังสือเล่มนี้ได้รับความกรุณาจากนักวิชาการรุ่นใหม่ผู้ศึกษาในระบบกฎหมายที่ตนรับผิดชอบในหนังสือเล่มนี้ ทั้งระบบจากสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และเยอรมนี ซึ่งเป็นระบบกฎหมายหลักที่นักนิติศาสตร์ใช้อ้างอิงในฐานะตัวแบบอยู่เสมอ โดยผู้เขียนแต่ละคนได้สำรวจที่มาและความหมายของหลักนิติธรรมหรือหลักการชื่ออื่นที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน ก่อนจะยกกรณีศึกษาจากคดีสำคัญในแต่ละเขตอำนาจมาเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจหลักการและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับหลักนิติธรรมของนานาอารยประเทศ ปิดท้ายด้วยการสำรวจหลักนิติธรรมในไทยผ่านศาลรัฐธรรมนูญ

.

อาจกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้นำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับหลักนิติธรรมอย่างรอบด้านและทันสมัยที่สุดในตลาดวิชาการนิติศาสตร์ไทย ผู้เขียนแต่ละคนล้วนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์และสามารถถ่ายทอดเนื้อหาอันละเอียดออกมาได้อย่างกระชับ เข้าใจง่าย

.

ท้ายที่สุด สิ่งที่หนังสือเล่มนี้พยายามจะนำเสนอ คือ ความปรารถนาอันจะอยู่ภายใต้การปกครองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้ระบบกฎหมายที่ถูกต้องดีงามนั้นเป็นความปรารถนาอันสากล เหล่ามนุษย์ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนโลกหรือใช้ชีวิตอยู่ในช่วงเวลาใด ยุคโบราณ ยุคกลาง หรือยุคสมัยใหม่ ล้วนใฝ่ฝันถึงชีวิตที่ปลอดภัย และมีเสรีภาพที่จะไล่ตามความฝันอื่น ๆ ของตนให้บรรลุศักยภาพของชีวิตมนุษย์ ความใฝ่ฝัน ความปรารถนาดังกล่าว แม้จะมาจากที่มาที่แตกต่างกันแต่ก็บรรจบกันในที่สุด เป็นวิธีคิดเรื่องการปกครองโดยกฎหมายที่ดี หรือหลักนิติธรรม

-ส่วนหนึ่งของคำนำ “นิติธรรมไทย: เฟื่องฟู และล้มเหลว” โดย เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง

.

สารบัญ

คำนำ: นิติธรรมไทย: เฟื่องฟู และล้มเหลว

โดย เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง

บทที่ 1 พัฒนาการของหลักนิติธรรมในอังกฤษ

โดย เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง

บทที่ 2 แนวคิดเรื่อง État de droit ในระบบกฎหมายฝรั่งเศส

โดย วริษา องสุพันธ์กุล

บทที่ 3 หลักนิติรัฐในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

โดย ศศิภา พฤกษฎาจันทร์

บทที่ 4 นิติธรรมในสหรัฐอเมริกา

โดย อภินพ อติพิบูลย์สิน

บทที่ 5 ศาลรัฐธรรมนูญกับการแปลความหมาย สร้าง และบังคับใช้ “หลักนิติธรรมไทย”

โดย กล้า สมุทวณิช

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง
คุณกำลังรีวิว:นิติรัฐนิติธรรม (ฉบับปกอ่อน)
คะแนนของคุณ