Kledthai.com

ตะกร้า 0

เศรษฐกิจแห่งความหวัง: การสร้างระเบียบทางสังคมนอกระบบของแรงงานชาวเวียดนามในประเทศไทย

ISBN: 9786164860803

แปลจากหนังสือ : -

ผู้แต่ง : รศ.ดร. อัจฉริยา ชูวงศ์เลิศ และ Lê Văn Tôn (เลวันโตน)

ผู้แปล : -

สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์ศยาม

ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2565

จำนวนหน้า : 392

ซีรี่ส์:
-
พร้อมส่ง
ISBN:
9786164860803
ราคาพิเศษ ฿351.00 ราคาปรกติ ฿390.00

หนังสือ “เศรษฐกิจแห่งความหวัง: การสร้างระเบียบทางสังคมนอกระบบของแรงงานชาวเวียดนามในประเทศไทย”

โดย “รศ.ดร. อัจฉริยา ชูวงศ์เลิศ”

อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

และ Lê Văn Tôn (เลวันโตน)

นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรอาเซียนศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

.

หนังสือเล่มนี้มาจากงานวิจัย รางวัลผลงานวิจัย “ระดับดีมาก”

รางวัลการวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา ประจำปีงบประมาณ 2566

เรื่อง “เศรษฐกิจนอกระบบในเครือข่ายสังคมข้ามชาติของแรงงานชาวเวียดนามในประเทศไทย”

(The Informal Economy Embedded in the Transnational Social Networks of Vietnamese in Thailand)

ทุนสนับสนุนการวิจัยโดย สำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

.

“หนังสือเล่มนี้เป็นตัวอย่างที่ดีมาก ในการปรับใช้แนวความคิดต่างๆ ทางสังคมสาสตร์ เพื่อช่วยผูกโยงและเชื่อมร้อยข้อมูลเชิงประจักษ์ให้สามารถวิเคราะห์เชื่อมโยงกันได้อย่างลงตัว ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น ยังช่วยให้นักวิจัยสามารถลดการอธิบาย ด้วยการยัดเยียดมุมมองของตนเองและหันมาเปิดให้เห็นมุมมองของผู้ถูกศึกษาหรือมุมมองจากเบื้องล่างมากขึ้น โดยใช้แนวคิดต่างๆ เป็นเพียงเครื่องช่วยคิด (heuristic tools) หรือไฟฉายส่องทางเท่านั้น”

-จากคำนิยม ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. อานันท์ กาญจนพันธุ์

.

“หนังสือเล่มนี้อ่านสนุก น่าติดตาม และที่สำคัญคือเป็นผลงานของผู้สันทัดกรณีที่เข้าถึงข้อมูลได้เท่านั้น”

-จากคำนิยม ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. อารี วิบูลย์พงศ์

สารบัญ

คำปรารภ

คำนิยม ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. อานันท์ กาญจนพันธุ์

คำนิยม ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. อารี วิบูลย์พงศ์

คำนำผู้เขียน

กิตติกรรมประกาศ

ว่าด้วยจริยธรรมการวิจัยและจรรยาบรรณทางวิชาการ

.

บทที่ 1 รู้จักแรงงานชาวเวียดนามผู้สร้างระเบียบนอกระบบในเศรษฐกิจแห่งความหวัง

บทที่ 2 การจัดการแรงงานข้ามชาติชาวเวียดนามที่อยู่นอกระบบของรัฐไทยบนความย้อนแย้งกับแนวคิดประชาคมอาเซียนและสิทธิมนุษยชน

บทที่ 3 ประวัติศาสตร์หล่างถายลาน (หมู่บ้านไทยแลนด์): การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้วยทุนข้ามชาติ

บทที่ 4 พลวัตของเครือข่ายทางสังคมข้ามชาติและระเบียบทาสังคมของการส่งออกแรงงานเวียดนามนอกระบบมายังประเทศไทย

บทที่ 5 บทผู้รับเหมา เจ้าของแผงค้า คาราวานรถเก๋งเร่กับการปฏิบัติการความเป็นไทยเพื่อการดำรงไว้ซึ่งชีวิตนอกระบบ

บทที่ 6 การสร้างระเบียบทางสังคมในการรักษาความเป็นนอกระบบในฐานะเศรษฐกิจแห่งความหวัง

บทที่ 7 การส่งกลับ อุดมคติขงจื๊อที่แสดงอัตลักษณ์ชาวเวียดนามและการสร้างเศรษฐกิจแห่งความหวัง

บทที่ 8 บทสรุป

บรรณานุกรม

ภาคผนวก: ภาพประกอบ

ดัชนี

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง
คุณกำลังรีวิว:เศรษฐกิจแห่งความหวัง: การสร้างระเบียบทางสังคมนอกระบบของแรงงานชาวเวียดนามในประเทศไทย
คะแนนของคุณ