Kledthai.com

ตะกร้า 0

นกเถื่อน (2 ภาษา ไทย-Eng )

ISBN: 9786164810419 R

ผู้แต่ง : รพินทนารถ ฐากูล

ผู้แปล : ปรีชา ช่อปทุมมา

สำนักพิมพ์ : สวนเงินมีมา

ซีรี่ส์:
-
พร้อมส่ง
ISBN:
9786164810419 R
ราคาพิเศษ ฿252.00 ราคาปรกติ ฿280.00

Man is a born child,

His power is the power of growth.

วจนะของท่านรพินทรนาถ ฐากูร ซึ่งอาจารย์ปรีชา ช่อปทุมมา ถอด

ความว่า

มนุษยชาติมีภาวะดุจเดียวกับทารกแรกเกิด

พลังของพวกเขา คือพลังแห่งการเติบโต

...หากพลังของมนุษย์คือพลังแห่งการเติบโต มนุษย์ก็ควร

ค้นหาพลังแห่งตน เพื่อซึมชับแก่นแท้ของชีวิตให้เติบโตอย่าง

สมบูรณ์พร้อมทั้งกายและจิตวิญญาณ

แต่ในท่ามกลางสังคมปัจจุบัน ยุคสมัยแห่งความเร่งเร็ว เรา

สามารถใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบายจากความช่วยเหลือทาง "วัตถุ"

ในแต่ละวันเราทำภารกิจการงานได้อย่างรวดเร็วทันใจ หลงเพลิน

กับการอิงอาศัยเทคโนโลยี จนมิทันได้สังเกต ไตร่ตรอง และรับรู้ถึง

พลังที่มีอยู่ภายในตน


บางที นกเถื่อน อาจกระตุ้นผู้อ่านให้ตระหนักถึง "พลังแห่ง

การเติบโต" ซึ่งซุกซ่อนอยู่ภายใน ก่อนที่มันจะตกหล่นสูญหายไป

ระหว่างวิถีที่เร่งรีบในแต่ละวัน

ด้วยภาษาที่งดงามและลึกซึ้งจาก "คัมภีร์แห่งปัญญาญาณ"

เล่มนี้ เราสัมผัสได้ถึงความละเอียดอ่อนของชีวิต และความเกี่ยว

โยงสัมพันธ์ระหว่างโลกกับตัวเรา ซึ่งนั่นจะนำมาซึ่งดวงใจที่อ่อนโยน

และการุณย์ต่อสรรพชีวิต


สำนักพิมพ์สวนเงินมีมามีความยินดียิ่งที่มีโอกาสตีพิมพ์ซ้ำ

กวีนิพนธ์ นกเถื่อน ซึ่งเดิมอยู่ในชุดหนังสือ รพินทรนาถวรรณกรรม

ที่เราได้ตีพิมพ์ออกมา 3 เล่มเมื่อปี พ.ศ. 2547 คือ จันทร์เสี้ยว

นกเถื่อน และ โศลกแห่งความรัก ซึ่งล้วนมีเนื้อหาเพื่อความเข้าใจ

ชีวิตในมิติทางจิตวิญญาณ


ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่มีส่วนช่วยให้หนังสือเล่มนี้ปรากฎ

ออกมาสู่การรับรู้ของสังคม


อีกกระแสหนึ่งในนิพนธ์

รพินทรนาถ ฐากูร ได้ชื่อว่าเป็นคนไม่อยู่นิ่ง เขาทำงาน เขาคิด และ

เขียนตลอดเวลา ยิ่งกว่านั้นยังชอบกระตุ้นให้คนทั้งหลายใช้ความ

คิดอีกด้วย ไม่คอยแต่หลงเชื่อผู้อื่นอยู่ร่ำไป เข้าทำนองว่า ใครแนะ

ให้กินน้ำค้างบนยอดหญ้าแล้วเสียงจะดีก็คล้อยตาม โดยหาได้

เฉลียวใจไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า

ในทรรศนะของรพินทรนาถ สมองของคนซึ่งใช้ความคิดนั้น

มีสภาพดุจ "นกเถื่อน" ที่บินไปอย่างกระปรี้กระเปร่าท่ามกลาง

ท้องฟ้า ส่วนสมองอันซึมเซาย่อมไม่ผิดกับ "ใบไม้สีเหลือง" ที่ทำท่า

จะปลิดปลิวลงสู่ดินในทุกขณะ


รูปแบบที่รพินทรนาถใช้เขียนหนังสือเล่มนี้ ตามหลักวรรณคดี

ตะวันตกเรียกว่า Epigram เมื่อมองเผิน ๆ อาจชวนให้นึกว่าเป็น

ไฮกุ (Haiku) ของญี่ปุ่น เพราะมีลักษณะสั้น ๆ เหมือนกัน ซึ่งความ

จริงแล้วเป็นคนละประเภทกันเลย


ไฮกุเป็นข้อเขียนแสดงคำสอนของพุทธศาสนานิกายเซน หรือ

จะเรียกว่าโคลงญี่ปุ่นก็ได้ กำหนดให้บรรจุบทละเพียง 17 พยางค์


เนื้อหาส่วนใหญ่บรรยายถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่าง

มนุษย์กับธรรมชาติ ประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้คือ

1. ความสงบเงียบตามธรรมชาติวิสัย

2. ความเหมือนกันของสรรพสิ่ง

3. ความปรารถนาถึงสิ่งอันเป็นที่คุ้นสนิทในอดีต

4. ความเร้นลับ

เพื่อให้ได้สัมผัสกับคุณสมบัติต่าง ๆ ที่บรรจุอยู่ในบทกวีไฮกุ

อย่างครบถ้วน ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำให้อ่านข้อเขียนเหล่านี้


ในป่าทึบ

ผลไม้หล่น

เสียงกระเซ็นของน้ำ


นกหัวขวาน

เกาะอยู่ที่เดียว

ใกล้สิ้นวัน


โลกน้ำค้าง

มันอาจเป็นหยดน้ำค้าง

และแม้กระนั้น-และถึงกระนั้น


ทะเลมืด

ฝูงเป็ดป้าประสานเสียง

เป็นสีขาวจางๆ


จะแปลว่าอย่างไรก็อธิบายไม่ถูก เหมือนที่ ดร. หลินยู่ถัง อ้าง

ถ้อยคำของเล่าจื่อว่า


He who knows does not speak;

He who speaks does not know.

ผู้รู้ไม่พูด ผู้พูดไม่รู้


คนอ่านต้องตีความเอาเอง ไม่มีใครอธิบายความหมายของ

สิ่งต่าง ๆ ให้แก่กันได้ เซนถือว่าคำพูดไม่สามารถพรรณนาของทุกสิ่ง


ความในใจไม่อาจถ่ายทอดเป็นวาจา หากผู้ใดตีความตามตัวอักษร

จะพลาด และหากผู้ใดพยายามอธิบายด้วยวาจา ตัวเขาเองจะไม่มี

โอกาสเข้าถึงความรู้แจ้งในชีวิต

อะไรก็ตามที่เกิดจาการช่วยเหลือของผู้อื่น ย่อมไม่คงทน

คนที่ยึดถือคำพูดของผู้อื่น และพยายามจะเข้าใจเชนโดย

อาศัยคำอธิบายนั้น ไม่ต่างอะไรกับคนโง่ไล่ตีดวงจันทร์ด้วยไม้พลอง

หรือคนที่เกาแผลคันจากภายนอกรองเท้า ซึ่งล้วนแต่เป็นไปไม่ได้

สำหรับนิพนธ์ที่เรียกว่า Epigram นั้น เดิมหมายถึง "คำจารึก"

ซึ่งจะสลักไว้ที่อนุสาวรีย์ ผลงานประติมากรรม อาคารสถานที่ หรือ

หลุมฝังศพก็ได้ อย่างที่หลุมฝังศพของจอห์น คีตส์ กวีชาวอังกฤษ

ก่อนตายเขาขอให้เพื่อนฝูงช่วยสลักว่า

Here lies one whose name

Was writ in water.

ณ ที่นี้ คือร่างของผู้จารึกชื่อตนเองไว้บนผิวน้ำ

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง
คุณกำลังรีวิว:นกเถื่อน (2 ภาษา ไทย-Eng )
คะแนนของคุณ