คันฉ่องส่องส่องจริยศาสตร์ (ส.ศิวรักษ์)
ISBN: 9789747046977
ผู้แต่ง : ส.ศิวรักษ์
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : ศึกษิตสยาม
ปีที่พิมพ์ : 2550
จำนวนหน้า : 252
แม้ผู้เขียนจะเคยมีผลงานในทางการสอน การแสดงบรรยายในชั้นเรียน กับทั้งยังได้เรียบเรียงเอกสารตำราที่ว่าด้วยจริยศาสตร์ไว้ก่อนหน้านี้ไม่น้อยแล้ว ดังเช่น ถ้อยคำบรรยายที่มีให้แก่คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ซึ่งถัดต่อมาได้กลายเป็นหนังสือเรื่อง ปรัชญาการศึกษา บรรยายในรายวิชาปรัชญาการเมือง ของคณะอักษรศาสตร์ สอนวิชาจริยศาสตร์ ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนถึงหัวข้อที่ว่าด้วยปรัชญาเบื้องต้น ซึ่งสอน ณ วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ ของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ซึ่งในโอกาสเหล่านี้ได้จัดทำขึ้นเป็นเอกสารประกอบด้วยแทบทุกคราวบรรยายและได้รับการจัดพิมพ์เป็นหนังสือมาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ก้าวแรกของปรัชญาการเมืองฝรั่ง และ ปรัชญาการเมือง(แปล) โดยที่ยังไม่นับรวมถึงงานแปลและเรียบเรียงชิ้นหลักๆ ของเขาในหัวข้อนี้อันได้แก่เรื่องราวของ โสกราตีส ที่รจนาโดยเพลโต้ผู้เป็นศิษย์ ในรูปของการสนทนากับบุคคลต่างๆ โดยเฉพาะก็ได้มีกับ เมโน ที่ถกแถลงกันในเรื่องของคุณธรรม ความดี หรือกุศลธรรม (Virtue) ว่าจะสามารถนำเอามาสั่งสอนต่อๆ กันได้หรือไม่ แต่แทบทั้งหมดที่เอ่ยอ้างมานี้ ย่อมเป็นไปในแนวทางการแสวงหาความจริงทางจริยศาสตร์และจริยธรรมที่วางอยู่บนพื้นฐานของฝรั่งตะวันตกยิ่งกว่า ตราบต่อมาเมื่อผู้เขียนได้มีโอกาสนำเสนอความคิดความอ่านอย่างเป็นการตั้งคำถาม ต่อเรื่องความถูกความผิดความดีความชั่วกับเหตุการณ์ต่างๆ ในสังคมบ้านเราเองนั่นแล จึงอาจนับได้ว่าเป็นทัศนะในทางจริยศาสตร์ที่สะท้อนตรงมาจากปัญหาปรากฏการณ์ของสังคมและโลกร่วมสมัยในภาคปฏิบัติอย่างจริงๆ จังๆ ชนิดที่ไม่ติดข้องตายตัวอยู่ในกรอบทฤษฎีแบบฝรั่งอย่างที่มักยึดถือกันในชั้นเรียน
คันฉ่องส่องจริยศาสตร์: บทพิจารณาว่าด้วยธรรมและอธรรมในสังคมไทย เป็นการนำเสนอมุมมองว่าด้วยจริยธรรมจากระดับพื้นฐานที่สุด ตั้งแต่แนวคิดเรื่องความถูกความผิดที่สะท้อนออกในบทนำของวารสารทางความคิดซึ่งเขาเคยเป็นบรรณาธิการ ไม่ว่าจะเป็น ปริทัศน์ และวิทยาสาร ภายใต้หัวข้อเรื่อง ค่านิยมของสังคม วิธีแก้ปัญหาสังคม และความสำคัญของจริยศึกษา ที่มีบางข้อเสนอแนะในทำนองว่า ถ้า[คนกลุ่มนี้]กระทำตัวอย่าง โดยเริ่มต้นจากสัญชาตญาณง่ายๆ ของมนุษย์ว่า อะไรผิด อะไรถูก แล้วทำแต่สิ่งที่ถูก ก็จะเป็นการสร้างค่านิยมที่ดีที่งามให้แก่สังคม เรื่อยไปจนบทความกระทัดรัดที่ ส.ศิวรักษ์เรียบเรียงให้กับหนังสือพิมพ์และนิตยสารอย่างกระชับ(จริยธรรมในทัศนะของฝ่ายศาสนา) และคำบรรยายที่ได้รับเชิญให้ไปแสดงทัศนะในทางคุณธรรมจริยธรรมยังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(คุณธรรมสำหรับนักศึกษา) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(จริยธรรมกับการพัฒนาสังคม) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(จริยธรรมของข้าราชการพลเรือน) และกระทรวงศึกษาธิการ(คุ ณธรรมของข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ) ถึงที่สุดจนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่(จริยธรรมสำหรับสังคมไทยที่ควรจะเป็น) ซึ่งเขาได้รับเชิญให้ไปแสดงปาฐกถาในหัวข้อเรื่อง จริยธรรมสำหรับแพทย์ อันสมควรถือว่าเป็นบทสรุปรวบยอดทางความคิดอันตกผลึกแล้วต่อปัญหาเรื่องจริยธรรมสำหรับไทยในทัศนะของ ส.ศิวรักษ์
อย่างไรก็ตาม แกนหลักของคันฉ่องฯ เล่มล่าสุดนี้ยังคงรักษาไว้ซึ่งความคิดแม่บททางจริยธรรม หรือจริยศาสตร์เบื้องต้น ที่เป็นผลงานการเรียบเรียงของผู้เขียนเมื่อครั้งที่ไปบรรยายให้แก่นิสิตคณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อครั้งปี ๒๕๐๘๒๕๐๙ ในฐานะที่เป็นพื้นฐานความคิดในเรื่องนี้ นอกเหนือไปกว่าในตอนท้ายสุดของเล่มที่ประกอบด้วยบทวิจารณ์ความคิดและชีวิตของนิโคโล มาคิเวลลี่ แห่ง The Prince และ เซอร์ทอมัส โมร์ ซึ่งมีสมญานามว่า The man for all seasons อย่างเป็นการเทียบเคียงวิถีธรรมของคนสองแบบ ที่ได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นผู้มีอิทธิพลต่อจริยธรรม-อจริยธรรมสำหรับ สถานการณ์ในโลกยุคถัดต่อมาตราบจนกระทั่งถึงปัจจุบันอย่างควรแก่การขบคิดพิจารณาอีกด้วย
แม้ผู้เขียนจะเคยมีผลงานในทางการสอน การแสดงบรรยายในชั้นเรียน กับทั้งยังได้เรียบเรียงเอกสารตำราที่ว่าด้วยจริยศาสตร์ไว้ก่อนหน้านี้ไม่น้อยแล้ว ดังเช่น ถ้อยคำบรรยายที่มีให้แก่คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ซึ่งถัดต่อมาได้กลายเป็นหนังสือเรื่อง ปรัชญาการศึกษา บรรยายในรายวิชาปรัชญาการเมือง ของคณะอักษรศาสตร์ สอนวิชาจริยศาสตร์ ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนถึงหัวข้อที่ว่าด้วยปรัชญาเบื้องต้น ซึ่งสอน ณ วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ ของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ซึ่งในโอกาสเหล่านี้ได้จัดทำขึ้นเป็นเอกสารประกอบด้วยแทบทุกคราวบรรยายและได้รับการจัดพิมพ์เป็นหนังสือมาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ก้าวแรกของปรัชญาการเมืองฝรั่ง และ ปรัชญาการเมือง(แปล) โดยที่ยังไม่นับรวมถึงงานแปลและเรียบเรียงชิ้นหลักๆ ของเขาในหัวข้อนี้อันได้แก่เรื่องราวของ โสกราตีส ที่รจนาโดยเพลโต้ผู้เป็นศิษย์ ในรูปของการสนทนากับบุคคลต่างๆ โดยเฉพาะก็ได้มีกับ เมโน ที่ถกแถลงกันในเรื่องของคุณธรรม ความดี หรือกุศลธรรม (Virtue) ว่าจะสามารถนำเอามาสั่งสอนต่อๆ กันได้หรือไม่ แต่แทบทั้งหมดที่เอ่ยอ้างมานี้ ย่อมเป็นไปในแนวทางการแสวงหาความจริงทางจริยศาสตร์และจริยธรรมที่วางอยู่บนพื้นฐานของฝรั่งตะวันตกยิ่งกว่า ตราบต่อมาเมื่อผู้เขียนได้มีโอกาสนำเสนอความคิดความอ่านอย่างเป็นการตั้งคำถาม ต่อเรื่องความถูกความผิดความดีความชั่วกับเหตุการณ์ต่างๆ ในสังคมบ้านเราเองนั่นแล จึงอาจนับได้ว่าเป็นทัศนะในทางจริยศาสตร์ที่สะท้อนตรงมาจากปัญหาปรากฏการณ์ของสังคมและโลกร่วมสมัยในภาคปฏิบัติอย่างจริงๆ จังๆ ชนิดที่ไม่ติดข้องตายตัวอยู่ในกรอบทฤษฎีแบบฝรั่งอย่างที่มักยึดถือกันในชั้นเรียน
คันฉ่องส่องจริยศาสตร์: บทพิจารณาว่าด้วยธรรมและอธรรมในสังคมไทย เป็นการนำเสนอมุมมองว่าด้วยจริยธรรมจากระดับพื้นฐานที่สุด ตั้งแต่แนวคิดเรื่องความถูกความผิดที่สะท้อนออกในบทนำของวารสารทางความคิดซึ่งเขาเคยเป็นบรรณาธิการ ไม่ว่าจะเป็น ปริทัศน์ และวิทยาสาร ภายใต้หัวข้อเรื่อง ค่านิยมของสังคม วิธีแก้ปัญหาสังคม และความสำคัญของจริยศึกษา ที่มีบางข้อเสนอแนะในทำนองว่า ถ้า[คนกลุ่มนี้]กระทำตัวอย่าง โดยเริ่มต้นจากสัญชาตญาณง่ายๆ ของมนุษย์ว่า อะไรผิด อะไรถูก แล้วทำแต่สิ่งที่ถูก ก็จะเป็นการสร้างค่านิยมที่ดีที่งามให้แก่สังคม เรื่อยไปจนบทความกระทัดรัดที่ ส.ศิวรักษ์เรียบเรียงให้กับหนังสือพิมพ์และนิตยสารอย่างกระชับ(จริยธรรมในทัศนะของฝ่ายศาสนา) และคำบรรยายที่ได้รับเชิญให้ไปแสดงทัศนะในทางคุณธรรมจริยธรรมยังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(คุณธรรมสำหรับนักศึกษา) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(จริยธรรมกับการพัฒนาสังคม) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(จริยธรรมของข้าราชการพลเรือน) และกระทรวงศึกษาธิการ(คุ ณธรรมของข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ) ถึงที่สุดจนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่(จริยธรรมสำหรับสังคมไทยที่ควรจะเป็น) ซึ่งเขาได้รับเชิญให้ไปแสดงปาฐกถาในหัวข้อเรื่อง จริยธรรมสำหรับแพทย์ อันสมควรถือว่าเป็นบทสรุปรวบยอดทางความคิดอันตกผลึกแล้วต่อปัญหาเรื่องจริยธรรมสำหรับไทยในทัศนะของ ส.ศิวรักษ์
อย่างไรก็ตาม แกนหลักของคันฉ่องฯ เล่มล่าสุดนี้ยังคงรักษาไว้ซึ่งความคิดแม่บททางจริยธรรม หรือจริยศาสตร์เบื้องต้น ที่เป็นผลงานการเรียบเรียงของผู้เขียนเมื่อครั้งที่ไปบรรยายให้แก่นิสิตคณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อครั้งปี ๒๕๐๘๒๕๐๙ ในฐานะที่เป็นพื้นฐานความคิดในเรื่องนี้ นอกเหนือไปกว่าในตอนท้ายสุดของเล่มที่ประกอบด้วยบทวิจารณ์ความคิดและชีวิตของนิโคโล มาคิเวลลี่ แห่ง The Prince และ เซอร์ทอมัส โมร์ ซึ่งมีสมญานามว่า The man for all seasons อย่างเป็นการเทียบเคียงวิถีธรรมของคนสองแบบ ที่ได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นผู้มีอิทธิพลต่อจริยธรรม-อจริยธรรมสำหรับ สถานการณ์ในโลกยุคถัดต่อมาตราบจนกระทั่งถึงปัจจุบันอย่างควรแก่การขบคิดพิจารณาอีกด้วย