จากพุทธศาสนาแห่งรัฐสู่พุทธศาสนาที่เป็นอิสระจากรัฐ
ISBN: 9789743159626
ผู้แต่ง : สุรพศ ทวีศักดิ์
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : สยามปริทัศน์
ปีที่พิมพ์ : 2560
จำนวนหน้า : 224
“เมื่อโลกเขาเดินหรือพยายามเดินไปทางนั้น ทางที่ทุกคนเท่ากัน ไม่มีใครมีอภิสทธิ์เหนือใคร ทุกคนคิดเองได้ ปกครองตนได้ หากขัดกันก็ใช้เหตุผลและเสียงส่วนใหญ่ตัดสินเป็นเรื่องๆ ไป ศาสนาพุทธก็ต้องเดินไปทางนั้นกับเขาด้วยไม่เดินอาจถูกทิ้งกลายเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ ซึ่งชาวพุทธคงไม่ต้องการเช่นนั้นคิดอย่างนี้ ผมคิดว่าข้อเสนอของหนังสือเล่มนี้ก็มีเหตุผลชัดแจ้งในตัวมากเถียงได้ยาก”
สมภาร พรมทา
“เมื่อนำความเชื่อทางศาสนาเข้ามาเกี่ยวดองกับอำนาจรัฐและความชอบธรรมของอำนาจนั้นโดยปราศจากการวิพากษ์ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือการปิดกั้นและมุ่งทำลายฝ่ายตรงข้าม มากกว่าการให้การศึกษาหรือสร้างความเข้าใจที่เปิดกว้างอย่างเป็นกัลยาณมิตรต่อทุกฝ่าย งานศึกษาวิจัยชิ้นนี้จึงมีความหมายนัยอันสำคัญยิ่งต่ออนาคตและการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย ที่มิติและปริมณฑลของความเป็น ชาติ ที่เป็นพื้นที่ของราษฎรจะได้ถักทอแนวความคิดและอุดมการณ์ทางสังคมและการเมืองที่มีพื้นฐานมาจากพุทธศาสนาขึ้นมาได้และเป็นมาตรฐานสากลอย่างแท้จริง”
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
หนังสือเล่มนี้ เนื้อหาสำคัญมี 2 ส่วนหลักคือ ส่วนที่สำรวจแนวคิดและประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับรัฐว่าความคิดนั้นคืออะไร มีความเป็นมา และมีปัญหาพื้นฐานสำคัญอะไรบ้างที่ตกทอดมาถึงยุคสมัยของเราและปรากฏเป็นปัญหาชัดเจนยิ่งขึ้นในปัจจุบัน ส่วนที่สองเป็นการนำปรัชญาสังคม คือแนวคิดโลกวิสัย (secularism)และเสรีนิยม (liberalism)มาวิเคราะห์และเสนอทางแก้ปัญหาที่สำรวจพบในส่วนแรก และเสนอว่าควรแยกศาสนาจากรัฐ พร้อมกับกำหนดบทบาทของศาสนาในพื้นที่สาธารณะให้ชัดเจนและสอดคล้องกับประชาธิปไตยที่รัฐต้องเป็นกลางทางศาสนา สามารถให้หลักประกันเสรีภาพและความเสมอภาคทางศาสนาได้อย่างแท้จริง
จึงอาจกล่าวได้ว่า หนังสือเล่มนี้เป็นงานประวัติศาสตร์ผสมกับปรัชญาสังคม กล่าวคือ ประวัติศาสตร์บอกกับเราว่าอะไรเป็นอะไร โดยไม่ตัดสินว่าอะไรควรเป็นอะไร แต่งานปรัชญาสังคมเน้นเสนอว่าอะไรควรเป็นอะไร หนังสือเล่มนี้จะเป็นการพาสำรวจประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในสังคมไทย จากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน
สารบัญ
คำนำ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
คำนิยม สมภาร พรมทา
คำนิยม ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
คำนำผู้เขียน
บทนำ มองปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนาบนกรอบคิดใหม่
บทที่ ๑ พุทธศาสนากับรัฐยุคต้น ยุคอโศก และยุคกลาง
บทที่ ๒ กำเนิดพุทธศาสนาแห่งรัฐสมัยใหม่
บทที่ ๓ พุทธศาสนากับรัฐหลังการปฏิวัติสยาม
บทที่ ๔ ปัญหาการผลิตสร้างแนวคิดทางการเมือง และแนวคิดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพุทธศาสนา
บทที่ ๕ แนวคิดโลกวิสัยและข้อเสนอแยกศาสนาจากรัฐ
บทที่ ๖ บทสรุป
บรรณานุกรม