ปรัชญาหมาและสัตว์ศึกษาที่มี(ห)ม(า)นุษย์เป็นศูนย์กลาง
ISBN: 9786168215739
ผู้แต่ง : หลายคนเขียน
ผู้แปล : พิพัฒน์ พสุธารชาติ บรรณาธิการ
สำนักพิมพ์ : ILLUMINATIONS EDITIONS
หมาคือเพื่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์ เพราะหมาเป็นสัตว์เลี้ยงที่ใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุดในประวัติศาสตร์
แต่ถ้าเราถามคนที่รักหมาว่า หมาสามารถมีชีวิตที่มีความหมายได้หรือไม่ หลายคนอาจผงะ...หมายความว่าอะไร
ปรัชญาหมาและสัตว์ศึกษาที่มี(ห)ม(า)นุษย์เป็นศูนย์กลาง
บรรณาธิการโดย พิพัฒน์ พสุธารชาติ
.
คริษฐป์ จิญญา
ปิยณัฐ ประถมวงษ์
ไมเคิล เฮาส์เคลเลอร์
เซซิเลีย เฮย์ส
วีรวุฒิ เหรียญมณี
กนิษฐ์ (มิตินันท์วงศ์) ศิริจันทร์
โดนัล เดวิดสัน
พิพัฒน์ พสุธารชาติ
พนา กันธา
พิชยะพัฒน์ นัยสุภาพ
และไลนา ดรอซ
เขียน
.
หนังสือปกอ่อน 464 หน้า
ขนาดหนังสือ กว้าง 14.3 x สูง 21 cm. (สัน 27 mm.)
.
หนังสือเล่มนี้พยายามตอบคำถาม 5 ข้อเกี่ยวกับสัตว์ คือ 1. ความหมายของชีวิต (meaning of life) 2. ความรู้สึกตัว (consciousness) 3. ความเป็นเหตุเป็นผล (rationality) 4. ภววิทยา (ontology) 5. ประวัติศาสตร์ (history) ปิดท้ายด้วยภาคผนวก 1 “แนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลางในฐานะแพะรับบาปของวิกฤตสิ่งแวดล้อม: บทปริทัศน์” และภาคผนวก 2 “บทวิจารณ์หนังสือ ปรัชญาแมว ปัญญาเหมียว: แมวและความหมายของชีวิต” ของจอห์น เกรย์
.
เนื่องจากเป็นหนังสือปรัชญา (ที่ไม่ปฏิเสธการวิจัยเชิงประจักษ์) เกี่ยวกับสัตว์ ; เนื้อหาในแต่ละส่วน (ยกเว้นส่วนที่เป็นภาคผนวก) จะประกอบไปด้วย 3 บท คือ 1. บทนำ 2. บทความหลัก และ 3. บทวิจารณ์ เพื่อรักษาความหมายของปรัชญาในแง่ของการถกเถียงถึงเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนและยังไม่สามารถหาคำตอบสุดท้าย (final answer) ในตอนนี้ได้
.
สารบัญ
คำนำของบรรณาธิการ
ส่วนที่หนึ่ง ความหมายของชีวิต
บทที่ 1 บทนำ: ว่าด้วยความหมายของชีวิต ของเรา ของเขา หรือของมัน?
คริษฐป์ จิญญา
บทที่ 2 ชีวิตของสุนัข: สัตว์สามารถใช้ชีวิตที่มีความหมายได้หรือไม่?
ไมเคิล เฮาส์เคลเลอร์
.
ส่วนที่สอง ความรู้สึกตัว
บทที่ 3 บทนำ: คำถามเบื้องต้นเรื่องความรู้สึกตัว
ปิยณัฐ ประถมวงษ์
บทที่ 4 เป็นเพียงจักรกลสัตว์เท่านั้นหรือ? ว่าด้วยคำถามเรื่องความรู้สึกตัวของสัตว์
เซซิเลีย เฮย์ส
บทที่ 5 ข้อวิจารณ์ความรู้สึกตัวของสัตว์โดยปีเตอร์ คาร์รัทเธอร์
วีรวุฒิ เหรียญมณี
.
ส่วนที่สาม ความเป็นเหตุเป็นผล
บทที่ 6 บทนำ: แนะนำเดวิดสันและบทความ “สัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล”
กนิษฐ์ (มิตินันท์วงศ์) ศิริจันทร์
บทที่ 7 สัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล
โดนัลด์ เดวิดสัน
บทที่ 8 ‘ความเป็นเหตุเป็นผล’ ที่หลากหลาย และปัญหาเรื่อง ‘ความเชื่อ’
พิพัฒน์ พสุธารชาติ
.
ส่วนที่สี่ ภววิทยา
บทที่ 9 บทนำ: จุดเปลี่ยนทางภววิทยากับสถานะของสัตว์
พนา กันธา
บทที่ 10 การเผชิญหน้าระหว่างมนุษย์กับสัตว์ในโลกแบบพหุภววิทยา
พนา กันธา
บทที่ 11 เมื่อสุนัขกับเจ้าของจ้องตากัน: ปัญหาของภววิทยาแบบธรรมชาตินิยม
พิพัฒน์ พสุธารชาติ
.
ส่วนที่ห้า ประวัติศาสตร์
บทที่ 12 บทนำ: สัตว์มีประวัติศาสตร์หรือไม่?
พิชยะพัฒน์ นัยสุภาพ
บทที่ 13 สัตว์กับวิชาประวัติศาสตร์: พรมแดนความรู้ว่าด้วยมนุษย์ สัตว์ และตัวกระทำทางประวัติศาสตร์
พิชยะพัฒน์ นัยสุภาพ
.
ภาคผนวก
1.แนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลางในฐานะแพะรับบาปของวิกฤตสิ่งแวดล้อม: บทปริทัศน์
ไลนา ดรอซ
2.บทวิจารณ์หนังสือ ปรัชญาแมว ปัญญาเหมียว: แมวและความหมายของชีวิต” ของจอห์น เกรย์