Kledthai.com

ตะกร้า 0

“จิตรกรแห่งชีวิตสมัยใหม่” ของชาร์ลส์ โบดแลร์ (Le Peintre de la vie moderne by Charles Baudelaire)

ISBN: 9786168215593

แปลจากหนังสือ : Le Peintre de la vie moderne

ผู้แต่ง : Charles Baudelaire

ผู้แปล : รติพร ชัยปิยะพร

สำนักพิมพ์ : Illuminations Editions (อิลลูมิเนชันส์ เอดิชันส์)

ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์ 2566

จำนวนหน้า : 240

ซีรี่ส์:
-
เริ่มทยอยจัดส่งวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป
ISBN:
9786168215593
ราคาพิเศษ ฿243.00 ราคาปรกติ ฿270.00

ชาร์ลส์ โบดแลร์ (Charles Baudelaire) เป็นที่รู้จักกันในฐานะกวีชาวฝรั่งเศสช่วงศตวรรษที่ 19 และได้รับการขนานนามว่าเป็นผู้บุกเบิก “กวีนิพนธ์สมัยใหม่” ในแวดวงวรรณกรรมตะวันตก โดยเฉพาะงานรวมเล่มกวีนิพนธ์อย่าง Les Fleurs du Mal (ดอกไม้แห่งความชั่ว) และ Le Spleen de Paris (ทุกข์ระทมในปารีส) นอกจากนี้โบดแลร์ยังได้เขียนบทวิจารณ์งานศิลปะไว้อีกมากมาย อาทิ จิตรกรแห่งชีวิตสมัยใหม่ ซึ่งเป็นบทความที่รวบรวมหลักคิดสำคัญต่างๆไว้

.

“ความเป็นสมัยใหม่” ในฐานะแก่นเรื่องของงานศิลปะที่โบดแลร์กล่าวถึง คือการให้ความสำคัญกับรายละเอียดของสิ่งต่างๆ รอบตัวในช่วงเวลานั้นๆไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่งดงามหรือสิ่งที่ประหลาด แม้ปรากฏการณ์นั้นจะวูบไหวชั่วแล่นไม่จีรัง แต่มันก็มีส่วนของแก่นสารที่ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์ ความพึงพอใจต่อภาพสะท้อนความร่วมสมัยไม่เพียงแต่ชี้ให้เห็นความงามที่ฉาบเคลือบสังคมปัจจุบันอยู่เท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นลักษณะเฉพาะตัวของปัจจุบันอีกด้วย

.

โบดแลร์ถือโอกาสเสนอแนวคิดทางสุนทรียศาสตร์แนวใหม่ นั่นคือ แนวคิดเกี่ยวกับความงาม (le Beau) เขาชี้ว่า ความงามนั้นมีลักษณะทวิลักษณ์ กล่าวคือมีทั้งลักษณะที่เป็นนิรันดร์ คงที่ นิยามยาก กับลักษณะชั่วคราวซึ่งสัมพันธ์กับสถานการณ์และความเป็นไปร่วมสมัย และเปรียบว่าทวิลักษณ์นี้เป็นเสมือน “จิตวิญญาณ” และ “ร่าง” ของศิลปะ ซึ่งจะเชื่อมโยงกับแนวคิดว่าด้วยความเป็นสมัยใหม่

.

ชีวิตสมัยใหม่นั้นเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์ของศิลปิน แต่ศิลปินจะต้องรู้จักเลือกลักษณะที่เขาเห็นว่าเด่น น่าประทับใจมานำเสนอ และรู้จักดึงลักษณะที่เป็นอมตะออกจากภาวะที่ปรากฏเพียงชั่วคราวโดยบังเอิญ ทั้งนี้ เขาเสนอนิยามศัพท์ “modernité” ไว้ว่า “ความเป็นสมัยใหม่ ประกอบด้วยส่วน (เปลือกนอก) ที่คงอยู่ชั่วคราว ผ่านวูบแล้วแวบหายหรือปรากฏเพียงชั่วแล่น ครึ่งหนึ่ง กับส่วน (แก่นสาร) ที่มีสารัตถะซึ่งดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์อีกครึ่งหนึ่ง”

.

ศิลปะต้องเป็นการดัดแปลงธรรมชาติตามจินตนาการของผู้สร้างสรรค์ เพราะธรรมชาตินั้น “ดิบ” และ “เถื่อน” เพราะฉะนั้น ต้องใช้ศิลปะเข้ามาขัดเกลาดัดแปลงให้หมดมลทิน งานศิลปะจึงมิใช่การลอกเลียนธรรมชาติ แต่เกิดจากการจัดสรรเลือกเฟ้นองค์ประกอบจากธรรมชาติมาสร้างใหม่ จัดระบบใหม่ ตามความรู้สึกนึกคิด ความทรงจำ และจินตนาการ ตลอดจนความชำนาญด้านฝีมือของผู้สร้าง

.

ด้วยเหตุนี้ โบดแลร์จึงชื่นชมหญิงที่งามเพราะแต่งอย่างมีศิลปะมากกว่าหญิงที่งามตามธรรมชาติ นอกจากนี้ยังเห็นว่า แฟชั่น (la mode) ซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นอย่างชาญฉลาดยังเป็นเสมือนการปรับแปลงธรรมชาติให้งามสูงส่ง เสื้อผ้าที่เป็นแฟชั่นและเครื่องประดับที่รับกันนี้เป็นสิ่งเสริมเสน่ห์ แสดงถึงความพยายามใหม่ๆ ของมนุษย์ที่จะไปสู่ความงามหรือสู่อุดมคติ แต่ทั้งนี้ต้องให้หญิงที่งามเป็นผู้สวมใส่ด้วย

สารบัญ

คำนำโดยบรรณาธิการ

จิตรกรแห่งชีวิตสมัยใหม่

l.สิ่งสวยงามรสนิยมการตแต่งกายและความสุข

ll.ภาพบันทึกวิถีชีวิต

lll.ศิลปิน คนของโลก คนของประชาชน และเด็ก

lV.ยุคสมัยใหม่

V.ศิลปะจากความทรงจำ

Vl.จดหมายเหตุรายปีจากสงคราม

Vll.พิธีและการเฉลิมฉลอง

Vlll.ทหาร

lX.แดนดี

X.สตรี

Xl.บทสรรเสริญแด่การประทินโฉม

Xll.บรรดาสุภาพสตรีและโสเภณีชั้นสูง

Xlll.รถม้า

.

ผลงานและชีวิตของเออแฌน เดอลาครัวซ์

.

ซาลง ปี ค.ศ. 1859

.

บทตามโดย สดชื่น ชัยประสาธน์

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง
คุณกำลังรีวิว:“จิตรกรแห่งชีวิตสมัยใหม่” ของชาร์ลส์ โบดแลร์ (Le Peintre de la vie moderne by Charles Baudelaire)
คะแนนของคุณ