เยิรเงาสลัว : Jun'ichiro Tanizaki (ปกอ่อน)
ISBN: 9786167982243
ผู้แต่ง : Jun'ichiro Tanizaki
ผู้แปล : สุวรรณา วงศ์ไวศยวรรณ
สำนักพิมพ์ : Openbooks
ปีที่พิมพ์ : มีนาคม 2561
จำนวนหน้า : 192 หน้า
เยิรเงาสลัว เป็นหนังสือที่สถาปนิก จิตรกร ประติมากร นักออกแบบ และศิลปินแขนงต่างๆ ไม่ควรจะพลาดและแม้แต่นักคิดและคนทั่วไป ผู้สนใจในศิลปวัฒนธรรม ก็ไม่ควรจะพลาดหนังสือที่ดีนี้ด้วยเช่นกัน
สารบัญ
- - เยิรเงาสลัว - ข้อคำนึงจากผู้แปล - ชีวประวัติของทานิซากิโดยสังเขป
บทความว่าด้วยเรื่องความงามที่ถูกมองข้าม ในสมัยโบราณก่อนที่แสงสว่างของยุคสมัยใหม่จะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างมันชัดเจน ขึ้นจนสูญเสียความงามเหล่านั้นไป
ผู้เขียนบรรยายความงามในเงาสลัวตั้งแต่บ้านและห้องน้ำแบบญี่ปุ่น เครื่องเรือน เครื่องครัวต่างๆ เลยไปจนถึงการแสดงละครโนของญี่ปุ่น และรสนิยมความงามของหญิงสาวในญี่ปุ่นสมัยโบราณ ฯลฯ เทคโนโลยีจากตะวันตกได้พรากความงามเหล่านี้ไป หากชาวตะวันออกมีเทคโนโลยีเป็นของตนเองบางทีความงามเหล่านี้ก็อาจจะยังคง อยู่
ด้วยผู้เขียนเป็นนักเขียนจึงลงท้ายด้วยความพยายามปกป้องหรือหวงแหนโลกในวรรณกรรมให้ยังคงความงามเหล่านั้นไว้
เป็นงานเขียนที่สะเทือนความคิดผู้อ่านได้ไม่เบา เพราะเนื่องจากตลอดทั้ง บทความผู้เขียนเอ่ยถึงเงาสลัวของสิ่งที่จับต้องได้ ซึ่งดูเหมือนผู้เขียนก็ยอมจำนนต่อแสงสว่างที่รุกคืบเข้ามาภายใต้การพัฒนาแบบ ตะวันตกสมัยใหม่ แต่สิ่งหนึ่งที่ยังทัดทานได้ก็คือความงามจากเงาสลัวในวรรณกรรม หรือนั่นอาจรวมถึงเขตแดนทางความคิดด้วยที่สามารถสงวนเอาไว้ได้
เยิรเงาสลัว เป็นหนังสือที่สถาปนิก จิตรกร ประติมากร นักออกแบบ และศิลปินแขนงต่างๆ ไม่ควรจะพลาดและแม้แต่นักคิดและคนทั่วไป ผู้สนใจในศิลปวัฒนธรรม ก็ไม่ควรจะพลาดหนังสือที่ดีนี้ด้วยเช่นกัน
สารบัญ
- - เยิรเงาสลัว - ข้อคำนึงจากผู้แปล - ชีวประวัติของทานิซากิโดยสังเขป
บทความว่าด้วยเรื่องความงามที่ถูกมองข้าม ในสมัยโบราณก่อนที่แสงสว่างของยุคสมัยใหม่จะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างมันชัดเจน ขึ้นจนสูญเสียความงามเหล่านั้นไป
ผู้เขียนบรรยายความงามในเงาสลัวตั้งแต่บ้านและห้องน้ำแบบญี่ปุ่น เครื่องเรือน เครื่องครัวต่างๆ เลยไปจนถึงการแสดงละครโนของญี่ปุ่น และรสนิยมความงามของหญิงสาวในญี่ปุ่นสมัยโบราณ ฯลฯ เทคโนโลยีจากตะวันตกได้พรากความงามเหล่านี้ไป หากชาวตะวันออกมีเทคโนโลยีเป็นของตนเองบางทีความงามเหล่านี้ก็อาจจะยังคง อยู่
ด้วยผู้เขียนเป็นนักเขียนจึงลงท้ายด้วยความพยายามปกป้องหรือหวงแหนโลกในวรรณกรรมให้ยังคงความงามเหล่านั้นไว้ เป็นงานเขียนที่สะเทือนความคิดผู้อ่านได้ไม่เบา เพราะเนื่องจากตลอดทั้ง บทความผู้เขียนเอ่ยถึงเงาสลัวของสิ่งที่จับต้องได้ ซึ่งดูเหมือนผู้เขียนก็ยอมจำนนต่อแสงสว่างที่รุกคืบเข้ามาภายใต้การพัฒนาแบบ ตะวันตกสมัยใหม่ แต่สิ่งหนึ่งที่ยังทัดทานได้ก็คือความงามจากเงาสลัวในวรรณกรรม หรือนั่นอาจรวมถึงเขตแดนทางความคิดด้วยที่สามารถสงวนเอาไว้ได้