สามานย์สามัญ
ISBN: 9786167751320
ผู้แต่ง : อุทิศ เหมะมูล
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : จุติ (อุทิศ เหมะมูล)
ปีที่พิมพ์ : 2556
จำนวนหน้า : 191
สามานย์ สามัญ รวมเรื่องสั้นลำดับที่สามนี้ นับได้ว่าแตกต่างออกไปจากรวมเรื่องสั้นชุดก่อนหน้า เมื่อมันค่อยๆ เคลื่อนตัวออกจากโลกวนเวียนและสภาวะวกวนของปัจเจกบุคคล สู่วังวนอันเป็นร่างแหที่เหล่าปัจเจกชนทั้งมองเห็นและทำเป็นไม่เห็นในโครงข่ายที่พยายามอำพรางการโน้มนำ ชักจูง หรือกระทั่งกดข่ม ให้รู้เห็นและเข้าใจความไม่ปกติเป็นเรื่องปกติ
เรื่องสั้น 8 เรื่อง แสดงให้เห็นความเป็นไปของการกลบเกลี่ย กลาย รวมถึงการเลือน การลบ และการล้างเหตุการณ์หลัก หรือโครงสร้างหลักของเรื่องสั้นทั้ง 8 เรื่อง ซึ่งสะท้อนให้เห็นวิถีและความเป็นไปของผู้คนในสังคมเมืองหลวง ผ่านการย้ำชื่อเรื่องสองครั้งแต่ต่างเสียงและต่างความ โดยใช้ความหมายเชิงเหรียญสองด้าน เช่น กรุงเทพฯ กรงเทพฯ และ บูรณาการ บูรณากาล เป็นต้น
ในท่ามกลางความแตกต่างแยกเป็นฝักฝ่ายของผู้คนในสังคมและการพุ่งเป้าไปที่การปฏิรูปทางการเมืองซึ่งจะเป็นทางออกนั้น ดูเหมือนผู้เขียนจะมีความคิดว่า ไม่เพียงการเมืองเท่านั้นที่ควรต้องปฏิรูป แต่องค์การและสถาบันอื่นๆ ก็ควรจะต้องปฏิรูปไปพร้อมๆ กันด้วย เพราะหน่วยต่างๆ เหล่านั้นเป็นตัวสร้างสามัญสำนึก ความถูกต้องดีงาม และความชอบธรรมทางสังคมมากเสียยิ่งกว่าสถาบันทางการเมืองเพียงอย่างเดียวจะทำได้ อันสะท้อนผ่านทัศนคติ วิธี อธิบาย และวิถีที่เป็นไปของหลากตัวละครในรวมเรื่องสั้นชุดนี้
สามานย์ สามัญ รวมเรื่องสั้นลำดับที่สามนี้ นับได้ว่าแตกต่างออกไปจากรวมเรื่องสั้นชุดก่อนหน้า เมื่อมันค่อยๆ เคลื่อนตัวออกจากโลกวนเวียนและสภาวะวกวนของปัจเจกบุคคล สู่วังวนอันเป็นร่างแหที่เหล่าปัจเจกชนทั้งมองเห็นและทำเป็นไม่เห็นในโครงข่ายที่พยายามอำพรางการโน้มนำ ชักจูง หรือกระทั่งกดข่ม ให้รู้เห็นและเข้าใจความไม่ปกติเป็นเรื่องปกติ
เรื่องสั้น 8 เรื่อง แสดงให้เห็นความเป็นไปของการกลบเกลี่ย กลาย รวมถึงการเลือน การลบ และการล้างเหตุการณ์หลัก หรือโครงสร้างหลักของเรื่องสั้นทั้ง 8 เรื่อง ซึ่งสะท้อนให้เห็นวิถีและความเป็นไปของผู้คนในสังคมเมืองหลวง ผ่านการย้ำชื่อเรื่องสองครั้งแต่ต่างเสียงและต่างความ โดยใช้ความหมายเชิงเหรียญสองด้าน เช่น กรุงเทพฯ กรงเทพฯ และ บูรณาการ บูรณากาล เป็นต้น
ในท่ามกลางความแตกต่างแยกเป็นฝักฝ่ายของผู้คนในสังคมและการพุ่งเป้าไปที่การปฏิรูปทางการเมืองซึ่งจะเป็นทางออกนั้น ดูเหมือนผู้เขียนจะมีความคิดว่า ไม่เพียงการเมืองเท่านั้นที่ควรต้องปฏิรูป แต่องค์การและสถาบันอื่นๆ ก็ควรจะต้องปฏิรูปไปพร้อมๆ กันด้วย เพราะหน่วยต่างๆ เหล่านั้นเป็นตัวสร้างสามัญสำนึก ความถูกต้องดีงาม และความชอบธรรมทางสังคมมากเสียยิ่งกว่าสถาบันทางการเมืองเพียงอย่างเดียวจะทำได้ อันสะท้อนผ่านทัศนคติ วิธี อธิบาย และวิถีที่เป็นไปของหลากตัวละครในรวมเรื่องสั้นชุดนี้