ศาลรัฐประหาร ตุลาการ ระอบเผด็จการ และนิติรัฐประหาร (ปกอ่อน)
ISBN: 9786167667591
ผู้แต่ง : ปิยบุตร แสงกนกกุล
ผู้แปล : -
สำนักพิมพ์ : ฟ้าเดียวกัน
ปีที่พิมพ์ : 2560
จำนวนหน้า : 290
ศาลไม่ใช่องค์การที่เป็นกลางและไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ศาลเป็นผู้เล่นทางการเมือง มีบทบาททางการเมืองผ่านการตัดสินคดีการตรวจสอบถ่วงดุลกับศาลจึงต้องเริ่มต้นจากการถอดรื้อความศักดิ์สิทธิ์ของศาล ทำให้ศาลลงมรอยู่ในระนาบเดียวกับองค์กรทางการเมืองอื่นๆ การวิจารณ์ การใช้อำนาจตอบโต้ และการประท้วงศาลนั้น เป็นเรื่องปกติของสังคมประชาธิปไตรยที่แต่ละองค์สามารถใช้อำนาจตอบโต้ถ่วงดุลกันเพื่อจุดดุลยภาพแห่งอำนาจ
ปิยบุตร แสงกนกกุล
ข้อเขียนใน ศาลรัฐประหาร เล่มนี้ได้คืน “ความเป็นการเมือง” ให้แก่ “กฎหมาย” เปลี่ยนสนามของกฎหมายที่เคยถูกทำให้เชื่อว่ามีความเป็นกลาง เป็นอิสระมีความสมเหตุสมผล เป็นเรื่องของกฎเกณฑ์แบบภาววิสัย ให้กลายเป็นสนามการต่อสู้ทางการเมืองที่ไม่อนุญาตให้ผูกขาดอยู่แต่ในมือของนักกฎหมายและ “คนใส่ชุดครุยบนบัลลังก์” อีกต่อไป
สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
หนังสือ "ศาลรัฐประหาร : ตุลาการ ระบอบเผด็จการ และนิติรัฐประหาร" เล่มนี้ เป็นผลงานของ "ปิยบุตร แสงกนกกุล" ผลงานลำดับที่ต่อจาก "รัฐธรรมนูญ: ประวัติศาสตร์ข้อความคิด อำนาจสถาปนา และการเปลี่ยนผ่าน" เนื้อหาภายในเล่มครอบคลุมตั้งแต่การสำรวจเชิงเปรียบเทียบ ถึงบทบาทของฝ่ายตุลาการในประเทศต่าง ๆ เมื่อเผชิญกับการรัฐประหารและระบอบเผด็จการ เชื่อมโยงไปถึงแนวความคิดและข้อถกเถียงเกี่ยวกับองค์กรตุลาการในระบอบการเมืองสมัยใหม่ โดยมีปรากฏการณ์ "ตุลาการภิวัตน์" กับการรัฐประหารปี 2549 และ 2557 ของประเทศไทยเป็นฉากหลังและจุดตั้งต้นในการขบคิด
กล่าวสำหรับ "ตุลาการภิวัตน์" นั้น เป็นกระแสใหญ่ในสังคมไทยหลังจากมีพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ต่อตุลาการศาลปกครองสูงสุดและผู้พิพากษาศาลยุติธรรมเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ซึ่งนำไปสู่ปฏิบัติการของฝ่ายตุลาการในการเพิกถอนการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 และถอดถอนคณะกรรมการการเลือกตั้งในขณะนั้น ก่อนจะเกิดการรัฐประหารตามมา แต่อย่างไรก็ตาม ข้อเขียนใน "ศาลรัฐประหาร" เล่มนี้ ได้คืน "ความเป็นการเมือง" ให้แก่ "กฎหมาย" เปลี่ยนสนามของกฎหมายที่เคยถูกทำให้เชื่อว่ามีความเป็นกลาง เป็นอิสระมีความสมเหตุสมผล เป็นเรื่องของกฎเกณฑ์แบบภาววิสัย ให้กลายเป็นสนามการต่อสู้ทางการเมือง ที่ไม่อนุญาตให้ผูกขาดอยู่แต่ในมือของนักกฎหมาย และ "คนใส่ชุดครุยบนบัลลังก์" อีกต่อไป
สารบัญ
บทที่ 1 ศาลกับระบอบรัฐประหาร
บทที่ 2 เมื่อศาลเผชิญหน้ากับรัฐประหาร
บทที่ 3 ศาลไทยกับรัฐประหาร
บทที่ 4 ศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลรัฐประหาร