ชาวนาการเมือง อำนาจในเศรษฐกิจชนบทสมัยใหม่ของไทย (ปกอ่อน)
ISBN: 9786167667515
ผู้แต่ง : แอนดรู วอล์คเกอร์
ผู้แปล : จักรกริช สังขมณี
สำนักพิมพ์ : ฟ้าเดียวกัน
ปีที่พิมพ์ : 2559
จำนวนหน้า : 359
สำหรับหนังสือ Thailand’s Political Peasants : Power in the Modern Rural Economyวอล์คเกอร์เสนอว่า การเมืองของชาวนารายได้ปานกลางนั้นแตกต่างจากการเมืองของชาวนาผู้ยากไร้ในอดีตหรือชาวนาชายขอบในปัจจุบันในแง่ที่ว่า ชาวนารายได้ปานกลางไม่ได้ต่อต้านอำนาจที่มาจากภายนอก แต่ต้องการสร้างสายสัมพันธ์กับแหล่งอำนาจต่างๆ ที่เอื้อประโยชน์แก่ตน ไม่ว่าจะเป็นอำนาจรัฐ อำนาจของตลาด/ทุน อำนาจของผี หรืออำนาจทางศีลธรรมของชุมชน ซึ่งเป็นสี่ปริมณฑลสำคัญใน “สังคมการเมือง” แบบใหม่ที่กำลังก่อตัวขึ้นในชนบท เล่มนี้ วอล์คเกอร์ได้ศึกษาพลวัตของอำนาจในชนบท ซึ่งมีตัวแสดงหลักหน้าใหม่ที่เขาเรียกว่า “ชาวนารายได้ปานกลาง” (หรือที่นักวิชาการบางคนเรียกว่า ชนชั้นกลางใหม่ ชนชั้นกลางระดับล่าง) เกิดขึ้นและกลายเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดในชนบทไทยปัจจุบัน
สังคมชาวนาของไทยไม่ได้สูญสลายไปตามคำทำนายของนักทฤษฎีหลายคนในศตวรรษที่ 20 แต่การดำรงคงอยู่ของสังคมชาวนาไทยนั้นพึ่งพาอาศัยการสนับสนุนของรัฐเป็นอย่างมาก การเปลี่ยนนโยบายด้านการคลังของรัฐจากการเรียกเก็บภาษีจากชนบทไปสู่การให้เงินอุดหนุนแก่ชนบท เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่อาจเป็นภัยคุกคามทางการเมืองได้นั้น มีบทบาทสำคัญในการดำรงรักษาประชากรจำนวนมากไว้ในชนบท ซึ่งแม้ว่าจะเป็นประชากรที่มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่ก็ไม่มีผลิตภาพเพียงพอที่จะตอบสนองความมุ่งมาดปรารถนาต่างๆ ที่เกิดจากการกระตุ้นของความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์ทางการเมืองที่สำคัญของชาวนารายได้ปานกลางจึงอยู่ที่การเพิ่มผลิตภาพ ด้วยการดึงงบประมาณของรัฐและทุนเอกชนเข้าสู่หมู่บ้าน และการเลือกตั้งก็เป็นช่องทางสำคัญในการใช้อำนาจของพวกเขา เพื่อให้ได้มาซึ่งนโยบายและโครงการต่างๆ ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและดึงทรัพยากรจากภายนอกเข้ามาพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
พวกเขาวิจารณ์นโยบายประชานิยมของรัฐบาลทักษิณว่าส่งเสริมให้คนชนบทเกิดความคาดหวังทางเศรษฐกิจที่เกินตัว บ่อนทำลายวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชนบท ซึ่งก็สอดคล้องกับการรณรงค์ต่อต้านทุนนิยมและโลกาภิวัตน์ขององค์กรภาคประชาสังคมจำนวนหนึ่ง เศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดวัฒนธรรมชุมชนไม่ยอมรับความต้องการของคนชนบทที่อยากจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สะดวกสบายขึ้น อยากส่งลูกหลานเรียนมหาวิทยาลัย ฯลฯ แต่ต้องการกดพวกเขาไว้ให้อยู่แบบพอเพียงในหมู่บ้าน มันจึงเป็นบทแย้งของ “สังคมการเมือง” แบบใหม่ในชนบท พลังของการเลือกตั้งทำให้ฐานต่อรองทางอำนาจเคลื่อนย้ายจากเมืองหลวงไปสู่เขตเลือกตั้งในชนบท โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคอีสานซึ่งมีสัดส่วนที่นั่งในสภาค่อนข้างมาก ชนชั้นนำและชนชั้นกลางเก่าพยายามทำลายความชอบธรรมของอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งด้วยวาทกรรมเรื่องการซื้อเสียงและความ “โง่-จน-เจ็บ” ของผู้เลือกตั้งในชนบท และดึงอำนาจกลับมาอยู่ในมือชนชั้นนำเสียงข้างน้อย
แต่ถ้าความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในชนบทที่ก่อให้เกิดชาวนารายได้ปานกลางเป็นของจริง ความพยายามกดทับเสียงของชาวชนบทด้วยอำนาจจากกระบอกปืนก็คงพิสูจน์กันต่อไปว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด รัฐบาลหลังรัฐประหาร 2549 และ 2557 พยายามบ่อนทำลาย “สังคมการเมือง” แบบใหม่ในชนบท และพาประเทศถอยหลังย้อนกลับไปในยุครัฐราชการ
สุดท้าย สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันขอขอบคุณแอนดรู วอล์คเกอร์ ผู้เขียน และจักรกริช สังขมณี ผู้แปล รวมทั้ง The University of Wisconsin Press เป็นอย่างสูงที่มอบความไว้วางใจให้เราดำเนินการแปลและจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ออกมา
อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงองค์กรหรือขบวนการเคลื่อนไหวของ “civil society” ผู้แปลใช้คำว่า “ภาคประชาสังคม” เนื่องจากเป็นคำที่นิยมใช้กันจนกลายเป็นศัพท์เฉพาะไปแล้ว อนึ่ง ในหนังสือเล่มนี้ผู้แปลเลือกใช้คำว่า “สังคมประชา” สำหรับการแปลคำว่า “civil society” เพื่อให้สอดรับกับคำว่า “สังคมการเมือง” (political society) ซึ่งเป็นแนวคิดสำคัญของปาร์ธา แชทเทอร์จี ที่ถูกใช้เป็นตัวเปรียบต่างของแนวคิดเรื่อง “civil society”
สำหรับหนังสือ Thailand’s Political Peasants : Power in the Modern Rural Economyวอล์คเกอร์เสนอว่า การเมืองของชาวนารายได้ปานกลางนั้นแตกต่างจากการเมืองของชาวนาผู้ยากไร้ในอดีตหรือชาวนาชายขอบในปัจจุบันในแง่ที่ว่า ชาวนารายได้ปานกลางไม่ได้ต่อต้านอำนาจที่มาจากภายนอก แต่ต้องการสร้างสายสัมพันธ์กับแหล่งอำนาจต่างๆ ที่เอื้อประโยชน์แก่ตน ไม่ว่าจะเป็นอำนาจรัฐ อำนาจของตลาด/ทุน อำนาจของผี หรืออำนาจทางศีลธรรมของชุมชน ซึ่งเป็นสี่ปริมณฑลสำคัญใน “สังคมการเมือง” แบบใหม่ที่กำลังก่อตัวขึ้นในชนบท เล่มนี้ วอล์คเกอร์ได้ศึกษาพลวัตของอำนาจในชนบท ซึ่งมีตัวแสดงหลักหน้าใหม่ที่เขาเรียกว่า “ชาวนารายได้ปานกลาง” (หรือที่นักวิชาการบางคนเรียกว่า ชนชั้นกลางใหม่ ชนชั้นกลางระดับล่าง) เกิดขึ้นและกลายเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดในชนบทไทยปัจจุบัน
สังคมชาวนาของไทยไม่ได้สูญสลายไปตามคำทำนายของนักทฤษฎีหลายคนในศตวรรษที่ 20 แต่การดำรงคงอยู่ของสังคมชาวนาไทยนั้นพึ่งพาอาศัยการสนับสนุนของรัฐเป็นอย่างมาก การเปลี่ยนนโยบายด้านการคลังของรัฐจากการเรียกเก็บภาษีจากชนบทไปสู่การให้เงินอุดหนุนแก่ชนบท เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่อาจเป็นภัยคุกคามทางการเมืองได้นั้น มีบทบาทสำคัญในการดำรงรักษาประชากรจำนวนมากไว้ในชนบท ซึ่งแม้ว่าจะเป็นประชากรที่มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่ก็ไม่มีผลิตภาพเพียงพอที่จะตอบสนองความมุ่งมาดปรารถนาต่างๆ ที่เกิดจากการกระตุ้นของความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์ทางการเมืองที่สำคัญของชาวนารายได้ปานกลางจึงอยู่ที่การเพิ่มผลิตภาพ ด้วยการดึงงบประมาณของรัฐและทุนเอกชนเข้าสู่หมู่บ้าน และการเลือกตั้งก็เป็นช่องทางสำคัญในการใช้อำนาจของพวกเขา เพื่อให้ได้มาซึ่งนโยบายและโครงการต่างๆ ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและดึงทรัพยากรจากภายนอกเข้ามาพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
พวกเขาวิจารณ์นโยบายประชานิยมของรัฐบาลทักษิณว่าส่งเสริมให้คนชนบทเกิดความคาดหวังทางเศรษฐกิจที่เกินตัว บ่อนทำลายวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชนบท ซึ่งก็สอดคล้องกับการรณรงค์ต่อต้านทุนนิยมและโลกาภิวัตน์ขององค์กรภาคประชาสังคมจำนวนหนึ่ง เศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดวัฒนธรรมชุมชนไม่ยอมรับความต้องการของคนชนบทที่อยากจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สะดวกสบายขึ้น อยากส่งลูกหลานเรียนมหาวิทยาลัย ฯลฯ แต่ต้องการกดพวกเขาไว้ให้อยู่แบบพอเพียงในหมู่บ้าน มันจึงเป็นบทแย้งของ “สังคมการเมือง” แบบใหม่ในชนบท พลังของการเลือกตั้งทำให้ฐานต่อรองทางอำนาจเคลื่อนย้ายจากเมืองหลวงไปสู่เขตเลือกตั้งในชนบท โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคอีสานซึ่งมีสัดส่วนที่นั่งในสภาค่อนข้างมาก ชนชั้นนำและชนชั้นกลางเก่าพยายามทำลายความชอบธรรมของอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งด้วยวาทกรรมเรื่องการซื้อเสียงและความ “โง่-จน-เจ็บ” ของผู้เลือกตั้งในชนบท และดึงอำนาจกลับมาอยู่ในมือชนชั้นนำเสียงข้างน้อย
แต่ถ้าความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในชนบทที่ก่อให้เกิดชาวนารายได้ปานกลางเป็นของจริง ความพยายามกดทับเสียงของชาวชนบทด้วยอำนาจจากกระบอกปืนก็คงพิสูจน์กันต่อไปว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด รัฐบาลหลังรัฐประหาร 2549 และ 2557 พยายามบ่อนทำลาย “สังคมการเมือง” แบบใหม่ในชนบท และพาประเทศถอยหลังย้อนกลับไปในยุครัฐราชการ
สุดท้าย สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันขอขอบคุณแอนดรู วอล์คเกอร์ ผู้เขียน และจักรกริช สังขมณี ผู้แปล รวมทั้ง The University of Wisconsin Press เป็นอย่างสูงที่มอบความไว้วางใจให้เราดำเนินการแปลและจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ออกมา
อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงองค์กรหรือขบวนการเคลื่อนไหวของ “civil society” ผู้แปลใช้คำว่า “ภาคประชาสังคม” เนื่องจากเป็นคำที่นิยมใช้กันจนกลายเป็นศัพท์เฉพาะไปแล้ว อนึ่ง ในหนังสือเล่มนี้ผู้แปลเลือกใช้คำว่า “สังคมประชา” สำหรับการแปลคำว่า “civil society” เพื่อให้สอดรับกับคำว่า “สังคมการเมือง” (political society) ซึ่งเป็นแนวคิดสำคัญของปาร์ธา แชทเทอร์จี ที่ถูกใช้เป็นตัวเปรียบต่างของแนวคิดเรื่อง “civil society”
บทนำ
- ชาวนา อำนาจ และสังคมการเมือง
บทที่ 1
- ชาวนาที่ยังดำรงคงอยู่ของประเทศไทย
บทที่ 2
- เศรษฐกิจชนบทรายได้ปานกลางของบ้านเทียม
บทที่ 3
- การดึงอำนาจเข้าสู่พื้นที่ส่วนตัว
บทที่ 4
- พันธสัญญา ทุนเอกชน และรัฐ
บทที่ 5
- เศรษฐกิจการเมืองของโครงการ
บทที่ 6
- ชุมชน การทำให้อ่านออกง่าย และมีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์
บทที่ 7
- ธรรมนูญแห่งชนบท
บทสรุป
- สังคมการเมือง สังคมประชา และประชาธิปไตย