Kledthai.com

ตะกร้า 0

แถลงการณ์เรื่อง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ (ปกแข็ง) (ศรีปัญญา)

ISBN: 9786167146959

ผู้แต่ง : บรรณาธิการอำนวยการ : ประพต เศรษฐกานนท์

ผู้แปล : -

สำนักพิมพ์ : ศรีปัญญา

ปีที่พิมพ์ : 2560

จำนวนหน้า : 324

ซีรี่ส์:
-
สินค้าหมด
ISBN:
9786167146959
ราคาพิเศษ ฿315.00 ราคาปรกติ ฿350.00

ข้าพเจ้าเห็นว่ารัฐบาลและผู้สนับสนุนรัฐบาลใช้วิธีปกครองซึ่งไม่ชอบด้วยเสรีภาพของบุคคลและหลักยุติธรรมตามที่ข้าพเจ้าคิดเห็น และเชื่อถือ ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้บุคคลใดหรือคณะใดดำเนินการปกครองวิธีนี้ ในนามของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพร้อมที่จะสละอำนาจ ซึ่งข้าพเจ้ามีอยู่แต่ก่อนให้แก่ประชาชนทั่วๆ ไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยอมสละให้แก่บุคคล หรือคณะใดๆ เพื่อที่จะใช้อำนาจนั้นๆ ด้วย สมบูรณาญาสิทธิ  โดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาชน

หนังสือเรื่อง “แถลงการณ์ เรื่องพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ” เล่มนี้ เป็นเอกสารสำคัญชั้นต้นที่จะช่วยต่อยอดความเข้าใจสภาพของประเทศไทยในขณะนั้น ระหว่างการปฏิวัติการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยการนำของคณะราษฎร เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๔ การเปลี่ยนแปลงอันสำคัญนี้ ถือเป็นการยกเลิกการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ใช้ปกครองประเทศมาอย่างยาวนานในอดีต

 

การดำเนินการของคณะราษฎร ถือว่าเป็นการกระทำที่กล้าหาญและเสี่ยงภัยอันตรายเป็นอย่างยิ่ง ถ้าหากการปฏิวัติในครั้งนั้นล้มเหลว ก็จะถือว่าเป็นการกบฎ ซึ่งโทษของการกบฎก็คือการประหารชีวิตและเนื่องจากสมาชิกประกอบด้วยคณะบุคคลหลากหลายการจะหลอมรวมแนวความคิดการจัดการ รูปแบบและอุดมการณ์ให้เป็นไปในทางเดียวกันจึงเป็นเรื่องยาก ดังนั้นจึงนำไปสู่ความขัดแย้งได้โดยง่ายและเมื่อความขัดแย้งรุนแรงและขยายตัวทำให้เกิดการช่วงชิงอำนาจทางการเมืองระหว่างบุคคลในคณะราษฎร ซึ่งเป็นอุปสรรคในการบรรลุการเปลี่ยนประเทศให้เป็นไปอย่างราบรื่นและมั่นคง จึงส่งผลให้ระบอบประชาธิปไตยของไทยต้องล้มลุกคลุกคลานมาจนถึงปัจจุบัน

 

ระหว่างการช่วงชิงอำนาจในหมู่คณะราษฎรและโค่นล้มรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดาโดยการนำของพระยาพหลพลพยุหเสนา เมื่อพระยาพหลฯขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในระหว่างนี้ได้เกิดกบฎบวรเดชขึ้น ซึ่งเป็นกรณีที่ส่งผลกระทบต่อฐานะของรัชกาลที่ ๗ และราชวงศ์ เป็นอย่างมากแม้รัชกาลที่ ๗ จะทรงวางพระองค์เป็นกลางแต่ฝ่ายรัฐบาลและคณะราษฎรเข้าใจว่าการเกิดกบฎในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากพระองค์แม้พระองค์จะทรงมีพระราชกระแสมาถึงรัฐบาลความว่า ด้วยตามที่ได้มีป่าวข่าวลือและส่อเสียดยุยงกันด้วยประการต่างๆ จนถึงมีดำริคิด พยายามจะโค่นล้มรัฐบาลนี้ด้วยกำลังนั้น เราขอแสดงให้เห็นเป็นที่แจ้งชัดว่า การกระทำเช่นนั้นไม่ต้องด้วยพระราชนิยมของเรา ดังที่เรามีพระราชกระแสไปให้สภาผู้แทนราษฎรทราบแล้ว แต่เดือน มิถุนายน ด้วยเรามีพระราชประสงค์อันแน่นอนที่จะได้เห็นบ้านเมืองสงบเรียบร้อย และให้การบริหารประเทศได้ดำเนินไปตามวิถีทางแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งเราได้ให้แก่ราษฎรเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๕

 

แม้ว่ารัชกาลที่ ๗ ทรงถือว่าการกระทำของพระองค์เจ้าบวรเดชและคณะทหารหัวเมืองขัดต่อรัฐธรรมนูญ และทรงขอร้องให้รัฐบาลใช้วิธีการที่ละมุนละม่อม และเมตตาธรรมในการปราบปรามกบฎ แต่ฝ่ายรัฐบาลมิได้สนใจในพระราชประสงค์แต่ประการใด รวมถึงได้มีการจับกุมพระบรมวงศานุวงศ์ที่รัฐบาลสงสัยว่าเป็นพวกกบฎด้วย โดยรัฐบาลภายใต้การนำของพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลรัชกาลที่ ๗ ซึ่งมีความสำคัญว่า รัฐบาลของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทมีความปรารถนาอันแรงกล้าเช่นเดียวกับใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ในอันที่จะให้การกบฎสงบลงโดยเร็วที่สุดที่จะเป็นได้ เพื่อจะให้ฝ่ายกบฎยอมอ่อนน้อมเสียด้วยดี ทั้งนี้เพื่อให้การเป็นไปตามความยุติธรรมเท่านั้นในการเอาโทษแก่พวกกบฎ รัฐบาลของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ประกาศและกราบบังคมทูลแล้วว่า จะเอาโทษแต่เฉพาะผู้ที่มีความรับผิดชอบโดยตรงถึงแม้ว่าจะเป็นนายทหารก็ดีถ้าได้แสดงว่าตนมีส่วนในการกบฎเพราะถูกบังคับหาได้เป็นใจด้วยดังนี้แล้ว ก็อยู่ในเกณฑ์ที่จะพ้นโทษตามประกาศของรัฐบาลได้เหมือนกัน

 

...อนึ่งที่ประกาศให้อภัยโทษล่วงหน้าย่อมขัดต่อหลักกฎหมายซึ่งตามหลักจะต้องให้คดีถึงที่สุดแล้ว จึงพิจารณาในสอันที่จะให้อภัยโทษได้ รัฐบาลของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจะได้ดำเนินการตามความยุติธรรมโดยแท้ทุกประการ ไม่มีความอาฆาตพยาบาทอย่างใดเลย

 

จากเหตุการณ์กบฎบวรเดชได้นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างรัชกาลที่ ๗ กับรัฐบาลและคณะราษฎรและส่งผลกระทบต่อรัชกาลที่ ๗ และราชวงศ์ ถึงแม้พระองค์จะแสดงความเป็นกลางแต่ก็หาได้ทำให้รัฐบาลและคณะราษฎรคลายความเคลือบแคลงไม่ประกอบกับการที่พระองค์ทรงปฏิเสธคำขอของรัฐบาลที่ทูลเชิญเสด็จกลับพระนครขณะที่มีการสู่รบอยู่ แต่พระองค์ทรงเสด็จจากหัวหินไปประทับอยู่ที่สงขลา ยิ่งเป็นเหตุให้รัฐบาลขาดความเชื่อถือในพระองค์ รวมถึงคณะราษฎรเชื่อมั่นว่าเจ้านายเชื้อพระวงศ์ให้การสนับสนุนการกบฎทั้งกำลังใจและกำลังเงิน ก็ยิ่งทำให้ฐานะของรัชกาลที่ ๗ และราชวงศ์ ตกต่ำในสายตาของคณะราษฎรเป็นอย่างมากจนยากจะประสานและเป็นแรงกดดันให้รัชกาลที่ ๗ ทรงประกาศสละราชสมบัติในที่สุด

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง
คุณกำลังรีวิว:แถลงการณ์เรื่อง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ (ปกแข็ง) (ศรีปัญญา)
คะแนนของคุณ