มหากาพย์ อิเลียด Iliad (Homer) [สภาพเก่าเก็บ 70%] ***สินค้าหมด***
ISBN: 9786164404595
แปลจากหนังสือ : Iliad
ผู้แต่ง : Homer
ผู้แปล : เวธัส โพธารามิก
สำนักพิมพ์ : ทับหนังสือ
ปีที่พิมพ์ : 2560
จำนวนหน้า : 880
Iliad – มหากาพย์ อิเลียด เป็นมหากาพย์โบราณของกรีก เป็นที่เข้าใจว่า โฮเมอร์-กวีจักษุบอด ได้รจนาไว้เมื่อประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว บรรดานักโบราณคดี-นักค้นคว้า ต่างมีความเห็นพ้องกันว่า แม้ว่าโฮเมอร์จะเป็นผู้เริ่มรจนาเรื่องนี้ก็จริง แต่ “มหากาพย์ อิเลียด” เรื่องนี้ได้มีนักขับลำนำ และกวีอีกมากหลาย ได้คิดแต่งเสริมความต้นเรื่องเดิมจนยืดยาวกันต่อๆมา ยุโรปสมัยโบราณ / ยุคสมัยของโฮเมอร์ การขับลำนำเป็น “มหรสพ” อย่างหนึ่งของผู้คนยุคสมัยนั้น กวี-นักขับลำนำได้นำ “มหากาพย์ อิเลียด” ของโฮเมอร์ไปเที่ยวขับให้ประชาชนฟัง เพื่อแลกกับเงินทอง และอาหาร โดยท่องเที่ยวไปตามเมือง, รัฐต่างๆ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายมาก เมื่อมีการเขียนหนังสือเกิดขึ้น ก็มีคนเขียนรวบรวมบทขับลำนำเหล่านั้น เอามารวมเป็นเรื่องติดต่อกัน จนที่สุดมีด้วยกัน 24 บรรพ (เล่ม/ม้วน)
มหากาพย์ ของโฮเมอร์ มีอยู่ 2 ภาค ภาคแรกชื่อ Iliad อันเป็นเรื่องราวสงครามที่กรุงทรอย ภาคที่สองชื่อ Odyssey เป็นเรื่องราวที่ต้องผจญภัยของ กษัตริย์โอดิสซี ยอดขุนพลแห่งกรีก ระหว่างเดินทางกลับเมืองหลังสงครามกรุงทรอย มหากาพย์ทั้ง 2 เรื่องนี้เปรียบดังขุมทรัพย์ทางวรรณคดีและโบราณคดีของโลก เป็น “บรรพบุรุษแห่งวรรณกรรมตะวันตก, หนึ่งในสุดยอดวรรณกรรมคลาสสิค” เป็นที่นิยมอ่านกันกมากมาย มีผู้แปลออกเป็นภาษาต่างๆ แพร่หลายไปทั่วโลก
โฮเมอร์ เป็นกวีขับลำนำชาวกรีก เขามีชีวิตเมื่อ 700 ปีก่อนคริสตกาลหรือ 400 ปีก่อนพุทธกาล เขาเป็นชายตาบอดท่องเที่ยวไปตามเมืองน้อยใหญ่ในแถบเอเซียไมเนอร์ เที่ยวขับลำนำกล่อมผู้คนด้วยกาพย์แลกกับอาหารเพื่อการดำรงชีพ เชื่อว่าโฮเมอร์ได้สิ้นชีวิจในสภาพวณิพก - ขอทานยากจน เมื่อเขาตายลงแล้วหลายร้อยปีจึงมีผู้เห็นความดีของ มหากาพย์ที่เขาแต่ง แม้กระดูกของโฮเมอร์จะกลายเป็นธุลีดินไปหมดแล้ว แต่ก็มีเมืองถึง 7 เมืองในแว่นแคว้นกรีกอ้างว่า โฮเมอร์ตายในเมืองของตน จึงมีนักขับกาพย์โบราญกล่าวเยอะไว้ว่า เมืองทั้ง 7 ที่อ้างว่าเป็นที่ตายของโฮเมอร์นั้น เมื่อโฮเมอร์มีชีวิตอยู่ไม่เคยมีเมืองใดเหลียวแลปล่อยให้โฮเมอร์ต้องขอทานเขาเลี้ยงชีพจนตลอดชีวิต
มีความเชื่อว่า มหากาพย์ทั้งสองเรื่อง 'มหากาพย์ อิเลียด' และ 'มหากาพย์ โอดิสซี' นั้นเป็นบทกวี - บทเพลงท้องถิ่นที่กระจัดกระจาย เป็นตอนๆ ซึ่งมีการขับร้องแพร่หลายกันมาก่อนราว 1,200 ปีก่อนคริสตกาล นักขับกาพย์หลายคนกับโฮเมอร์กวีชาวกรีกเป็นคนแรก ได้ช่วยกันปะติดปะต่อประมวลกันขึ้นใหม่จนเป็นเรื่องที่ต่อเนื่องกัน ให้ชื่อว่า 'อิเลียด' และ 'โอดิสซี' มหากาพย์ทั้งสองเรื่องเสมือนบันทึกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า - เป็นมหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่
'มหากาพย์ อิเลียด' เป็นตำนานการทำสงครามระหว่างบรรดานักรบกรีก (อะเคียนส์) กับนักรบกรุงทรอย (อิเลียม) มูลเหตุแห่งสงครามอันนำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงนี้ กล่าวอ้างว่าสืบเนื่องมาจากรูปโฉมงดงามชวนหลงใหลของพระนางเฮเลน/เฮเลเน ชายาของเมเนลาอุส กษัตริย์แห่ง สปาร์ตา ขณะที่เมเนลาอุสกับเฮเลเนครองคู่กันอย่างมีความสุข มีโอรสและธิดาหลายองค์ จวบจนกระทั่งวันหนึ่ง เจ้าชายปารีส โอรสกษัตริย์ปริอัม/ปริอามอส แห่งกรุงทรอยอาเดินทางมายังสปาร์ตา ปารีสถูกค้นพบตัวในสปาร์ตา แต่กษัติรย์เมเนลาอุสได้รับเขาเข้ามาในวัง ให้การดูแลและต้อนรับอย่างอบอุ่น และขอให้ปารีสจากไปแต่โดยดี ในขณะที่ปารีสจากไป เขาไปล่อลวงเฮเลเนแล้วลักพาตัวนางหนีกับไปยังกรุงทรอยอาทำให้กลายเป็นจุดกำเนิดสงครามแห่งเมืองทรอยอาอันลือลั่น ระหว่าสงครามอันยาวนานต่างฝ่ายพลัดกันชนะพลัดกันแพ้ ด้วยเหล่าเทพเจ้าบนยอดเขาโอลิมปัส/โอลิวม์ปอส ลงมายุ่งวุ่นวายชี้นำเหล่านักรบทั้งสองฝ่าย พากันเหาะลงไปช่วยข้างโน้นทีข้างนี้ทีเป็นที่สุนกสนาน ดลบันดาลพละกำลังและอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์แก่เหล่านักรบทั้งสองฝ่ายจนวาระสุดท้ายของกรุงทรอยอา
'มหากาพย์ อิเลียด' แสดงให้เห็นสัจธรรมของการต่อสู้เพื่อชัยชนะ ได้เห็นถึงความกล้าหาญ อดทน ความรักระหว่างสหายร่่วมรบ ความรักครอบครัว การให้ความเคารพ-ให้เกียรดิ์ซึ่งกันและกัน ความฉลาดไหวพริบของมนุษย์ในขณะที่ต่อสู้ช่วงชิงชัย ต้นเหตุของความเสื่อมและความเจริญ 'มหากาพย์ อิเลียด' อาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องของโศกนาฎกรรม เล่าถึงเหตุการณ์ 15 วันสุดท้ายของสงครามทรอยอาที่กินเวลายาวนานถึง 10 ปี นับเป็นบันทึกเรื่องราวอันเป็นพื้นฐานความเชื่อ และต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันตก ที่สะท้อนถึงคุณค่าทางด้านคติธรรม ความเชื่อ วัฒนธรรม การเมือง - การปกครอง
'มหาการพย์ โอดิสซี' เป็นตำนานดุจดังนิยายผจญภัย มีตัวละครเอก คือ 'โอดิสซุส / โอดิวส์เซวส์' นักรบกรีก กษัตริย์แห่งนครอาธากะ หลังจากเสร็จศึกกรุงทรอยอาแล้ว ระหว่างเดินทางกลับสู่มาตุภูมิคืนสู่ชายาและโอรสแห่งตน มีอันต้องพลัดพรากสูญเสียกองเรือ สหายศึกอันเป็นทีรักของตน ต้องผจญภัย - เผชิญอันตรายต่างๆ นานาที่โหมกระหน่ำเข้ามาในชีวิต เนื่องด้วยโพไซดอน/โปเซดอนเชษฐาแห่งซุส/เซวส์ เจ้าผู้เขย่าปฐพีเทพแห่งท้องสมุทรผู้ครองทะเลเยี่ยงเดียวกับเซวส์ที่ครองสรวงสวรรค์ แต่มีเสน่ห์น้อยกว่า น่าขามเกรมในรูปลักษณ์ พระองค์ตามล้างผลาญวีรบุรุษโอดิวเซอส์อย่างไม่ยอมเลิกรา
'มหากาพย์ อิเลียด' และ 'มหาการพย์ โอดิสซี' ถูกขับร้อง เมื่อมีการใช้ตัวอักษรแล้ว ก็ถูกอ่าน ถูกถ่ายทอดกันมาเป็นระยะเวลายาวนานนับศตวรรษ จึงกล่าวได้ไม่ผิดว่า "มหากาพย์ ทั้งสองเรื่องเป็น 'บรรพบุรุษแห่งวรรณกรรมกรีก - วรรณกรรมโลกตะวันตก, หนึ่งในสุดยอดวรรณกรรมคลาสสิค' "