Kledthai.com

ตะกร้า 0

ถนนชีวิต (ปกแข็ง)

ISBN: 9786163827203

แปลจากหนังสือ : MAIN STREET

ผู้แต่ง : ซินแคลร์ ลูอิ๊ส

ผู้แปล : ประสิทธิ์ ตั้งมหาสถิตกุล

สำนักพิมพ์ : ทับหนังสือ

ปีที่พิมพ์ : 2558

จำนวนหน้า : 720

พร้อมส่ง
ISBN:
9786163827203
ราคาพิเศษ ฿630.00 ราคาปรกติ ฿700.00

ซินแคลร์ ลูอิ๊ส

งานเขียนของเขาออกไปในทางเสียดสีสังคมอเมริกัน และพุ่งเป้าไปที่ด้านที่เป็นมะเร็งร้ายของชีวิตร่วมสมัย โลกธุรกิจที่โฆษณาห้ำหั่นกันอย่างบ้าเลือด ธุรกิจการเผยแพร่คำสอนศาสนา ความงมงายของชาวอเมริกันกับศาสนาเทียมอย่าง New Thought หรือเทวญาณวิทยา ลูอิ๊สเกลียดกลยุทธ์ต่ำทรามทางธุรกิจ ที่แนวโน้มจะถูกยกขึ้นเป็นจรรยาบรรณในทรรศนะของพลเมืองอเมริกัน ความเกลียดชังเหล่านั้นถูกบ่มจนได้ที่และมาสุกงอมเอาในเรื่อง “Babbitt” แต่ความจริงมันได้แตกดอกออกเป็นผลเล็กผลน้อยในเรื่องสั้นชุดหนุ่มนักโฆษณาจอมฉ้อฉลก่อนหน้านี้แล้ว

เมื่ออเมริกาเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 1917 ลูอิ๊สรู้สึกเหมือนน้ำท่วมปากในทันใด กระแสความเกลียดชังเยอรมันทำให้เขาไม่สามารถพูดได้อย่างอิสระ เพราะไม่ว่าพูดอะไรก็มีสิทธิ์ถูกเหมาว่าเป็นพวกต่อต้านอเมริกันได้หมด ดังเช่น ยูยีน เด้ปส์ผู้นำกรรมกรที่เป็นวีรบุรุษฅนหนึ่งของลูอิ๊สถูกจับเข้าคุก เพียงเพราะแสดงความเป็นว่าสหรัฐอเมริกาไม่ควรไปยุ่งกับสงคราม เขาต้องรออีกสามปี จึงสามารถระบายความรู้สึกต่อกระแสชาตินิยมไม่ลืมหูลืมตาในช่วงสงครามได้ใน “ถนนชีวิต”

อารมณ์หลังสงครามที่ผู้ฅนเริ่มตั้งคำถามต่อค่านิยมและการปลุกเร้ากระแสชาตินิยมของอเมริกันนั้นสอดคล้องกับความคิด ความเชื่อของลูอิ๊ส “ถนนชีวิต” นับว่าตีพิมพ์ในช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะเจาะ ที่ผู้ฅนมากมายไม่เพียง ศิลปิน ปัญญาชน แม้แต่พลเมืองอเมริกันทั่วไปเริ่มแลกเปลี่ยนข้อข้องใจต่อกัน ดังนั้น ความสำเร็จของนวนิยายเล่มนี้จึงมิใช่มาจากอัจฉริยภาพของเขาเท่านั้น แต่เป็นเพราะว่าวุฒิภาวะชาวอเมริกันสุกงอมพร้อมแล้วที่กลืนยาขมจากตัวหนังสือของเขา “ถนนชีวิต”

 

มัลคอล์ม โควลี่ย์ (Malcolm Cowley, 1898-1989) นักเขียน, กวี, นักวิจารณ์วรรณกรรม และนักหนังสือพิมพ์กล่าวไว้ว่า...

“ฅนอเมริกันที่ซื้อหนังสืออ่านมีจำนวนสองถึงสามแสนฅน หากนวนิยายสักเล่มมียอดขายประมาณนี้ก็หมายความว่า ต้องมีผู้อ่านที่อยู่ในหมู่บ้านไกลปืนเที่ยงรวมอยู่ด้วย ซึ่งบ้านหลังหนึ่งๆในถิ่นห่างไกลเหล่านี้ในชั่วอายุฅนหนึ่งมีหนังสือไม่เกินสิบเล่มบนชั้นหนังสือ ทว่าในปี 1921 ในห้องรับแขกของไม่ว่าโรงเตี้ยมไหน คุณย่อมเห็น “ถนนชีวิต” วางอยู่ระหว่าง “ไบเบิ้ล และ เบนเฮอร์”

เหตุผลข้อหนึ่งที่ทำให้ “ถนนชีวิต” ตรึงใจผู้อ่านได้อย่างฉับพลันเช่นนี้ก็เพราะว่า นวนิยายได้พูดแทนสิ่งที่อยู่ในใจของฅนจำนวนมากใน ค.ศ. นั้น

“ถนนชีวิต” สะท้อนภาพความจริงอย่างตรงไปตรงมาของชีวิตชาวอเมริกันหลายล้านฅน และทำให้ผู้อ่านนึกถึงตัวเองและสังคมที่ตนอยู่ อาจกล่าวได้ว่า นวนิยายเล่มนี้ได้ปลดเปลื้องชาวอเมริกันจากมายาคติที่ยึดถือกันมานาน ความเชื่ออย่างภาคภูมิใจว่า อเมริกาได้บรรลุความเป็นประธิปไตยที่เรียบง่ายและสมบูรณ์แบบ ที่สังคมล้าสมัยอื่นๆ ไม่รู้จัก และความเชื่ออย่างฝังรากลึกว่า “สุภาพสโมสร ครอบครัว โบสถ์ ธุรกิจมั่นคง พรรคการเมือง ประเทศชาติ อภิเผ่าพันธุ์ผิวขาว” คือคำตอบสำเร็จสำหรับความสมบูรณ์พูนสุข

“ถนนชีวิต” เสมือน หอกที่พุ่งใส่วัฒนธรรมบ้านนอกอเมริกันที่เต็มไปด้วยความยโส ลำพองตน และเหวี่ยงคำเยาะหยันและข้อกังขาใส่ศาสนศรัทธาที่แสนคับแคนในจิตใจ

ซินแคลร์ ลูอิ๊ส

งานเขียนของเขาออกไปในทางเสียดสีสังคมอเมริกัน และพุ่งเป้าไปที่ด้านที่เป็นมะเร็งร้ายของชีวิตร่วมสมัย โลกธุรกิจที่โฆษณาห้ำหั่นกันอย่างบ้าเลือด ธุรกิจการเผยแพร่คำสอนศาสนา ความงมงายของชาวอเมริกันกับศาสนาเทียมอย่าง New Thought หรือเทวญาณวิทยา ลูอิ๊สเกลียดกลยุทธ์ต่ำทรามทางธุรกิจ ที่แนวโน้มจะถูกยกขึ้นเป็นจรรยาบรรณในทรรศนะของพลเมืองอเมริกัน ความเกลียดชังเหล่านั้นถูกบ่มจนได้ที่และมาสุกงอมเอาในเรื่อง “Babbitt” แต่ความจริงมันได้แตกดอกออกเป็นผลเล็กผลน้อยในเรื่องสั้นชุดหนุ่มนักโฆษณาจอมฉ้อฉลก่อนหน้านี้แล้ว

เมื่ออเมริกาเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 1917 ลูอิ๊สรู้สึกเหมือนน้ำท่วมปากในทันใด กระแสความเกลียดชังเยอรมันทำให้เขาไม่สามารถพูดได้อย่างอิสระ เพราะไม่ว่าพูดอะไรก็มีสิทธิ์ถูกเหมาว่าเป็นพวกต่อต้านอเมริกันได้หมด ดังเช่น ยูยีน เด้ปส์ผู้นำกรรมกรที่เป็นวีรบุรุษฅนหนึ่งของลูอิ๊สถูกจับเข้าคุก เพียงเพราะแสดงความเป็นว่าสหรัฐอเมริกาไม่ควรไปยุ่งกับสงคราม เขาต้องรออีกสามปี จึงสามารถระบายความรู้สึกต่อกระแสชาตินิยมไม่ลืมหูลืมตาในช่วงสงครามได้ใน “ถนนชีวิต”

อารมณ์หลังสงครามที่ผู้ฅนเริ่มตั้งคำถามต่อค่านิยมและการปลุกเร้ากระแสชาตินิยมของอเมริกันนั้นสอดคล้องกับความคิด ความเชื่อของลูอิ๊ส “ถนนชีวิต” นับว่าตีพิมพ์ในช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะเจาะ ที่ผู้ฅนมากมายไม่เพียง ศิลปิน ปัญญาชน แม้แต่พลเมืองอเมริกันทั่วไปเริ่มแลกเปลี่ยนข้อข้องใจต่อกัน ดังนั้น ความสำเร็จของนวนิยายเล่มนี้จึงมิใช่มาจากอัจฉริยภาพของเขาเท่านั้น แต่เป็นเพราะว่าวุฒิภาวะชาวอเมริกันสุกงอมพร้อมแล้วที่กลืนยาขมจากตัวหนังสือของเขา “ถนนชีวิต”

 

มัลคอล์ม โควลี่ย์ (Malcolm Cowley, 1898-1989) นักเขียน, กวี, นักวิจารณ์วรรณกรรม และนักหนังสือพิมพ์กล่าวไว้ว่า...

“ฅนอเมริกันที่ซื้อหนังสืออ่านมีจำนวนสองถึงสามแสนฅน หากนวนิยายสักเล่มมียอดขายประมาณนี้ก็หมายความว่า ต้องมีผู้อ่านที่อยู่ในหมู่บ้านไกลปืนเที่ยงรวมอยู่ด้วย ซึ่งบ้านหลังหนึ่งๆในถิ่นห่างไกลเหล่านี้ในชั่วอายุฅนหนึ่งมีหนังสือไม่เกินสิบเล่มบนชั้นหนังสือ ทว่าในปี 1921 ในห้องรับแขกของไม่ว่าโรงเตี้ยมไหน คุณย่อมเห็น “ถนนชีวิต” วางอยู่ระหว่าง “ไบเบิ้ล และ เบนเฮอร์”

เหตุผลข้อหนึ่งที่ทำให้ “ถนนชีวิต” ตรึงใจผู้อ่านได้อย่างฉับพลันเช่นนี้ก็เพราะว่า นวนิยายได้พูดแทนสิ่งที่อยู่ในใจของฅนจำนวนมากใน ค.ศ. นั้น

“ถนนชีวิต” สะท้อนภาพความจริงอย่างตรงไปตรงมาของชีวิตชาวอเมริกันหลายล้านฅน และทำให้ผู้อ่านนึกถึงตัวเองและสังคมที่ตนอยู่ อาจกล่าวได้ว่า นวนิยายเล่มนี้ได้ปลดเปลื้องชาวอเมริกันจากมายาคติที่ยึดถือกันมานาน ความเชื่ออย่างภาคภูมิใจว่า อเมริกาได้บรรลุความเป็นประธิปไตยที่เรียบง่ายและสมบูรณ์แบบ ที่สังคมล้าสมัยอื่นๆ ไม่รู้จัก และความเชื่ออย่างฝังรากลึกว่า “สุภาพสโมสร ครอบครัว โบสถ์ ธุรกิจมั่นคง พรรคการเมือง ประเทศชาติ อภิเผ่าพันธุ์ผิวขาว” คือคำตอบสำเร็จสำหรับความสมบูรณ์พูนสุข

“ถนนชีวิต” เสมือน หอกที่พุ่งใส่วัฒนธรรมบ้านนอกอเมริกันที่เต็มไปด้วยความยโส ลำพองตน และเหวี่ยงคำเยาะหยันและข้อกังขาใส่ศาสนศรัทธาที่แสนคับแคนในจิตใจ

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง
คุณกำลังรีวิว:ถนนชีวิต (ปกแข็ง)
คะแนนของคุณ