Kledthai.com

ตะกร้า 0

ความเป็นอนิจจังของสังคม | ปรีดี พนมยงค์

ISBN: 9786164861091

ผู้แต่ง : ปรีดี พนมยงค์

ผู้แปล : -

สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์ สยามปริทัศน์

ซีรี่ส์:
-
พร้อมส่ง
ISBN:
9786164861091
ราคาพิเศษ ฿135.00 ราคาปรกติ ฿150.00

ความเป็นอนิจจังของสังคม

ปรีดี พนมยงค์

สำนักพิมพ์ สยามปริทัศน์

หนา 136 หน้า


เมื่อระบบสังคมใดเก่าแก่ถึงปานนั้นแล้ว ก็จะต้องเปลี่ยนแปลงโดยมีระบบที่ใหม่ดียิ่งกว่า ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงจากกฎแห่งอนิจจังไปไม่พ้น...


ระบบสังคมใด ๆ ไม่นิ่งคงอยู่กับที่ชั่วกัลปาวสาน คือ ระบบเก่าย่อมดำเนินเข้าสู่ความเสื่อมสลาย เช่นเดียวกับสังขารทั้งหลาย ส่วนระบบที่เกิดใหม่ ก็เจริญเติบโตถึงขีดที่ไม่อาจเติบโตต่อไปได้อีก ก็ดำเนินเข้าสู่ความเสื่อมสลาย โดยมีระบบใหม่ยิ่งกว่า สืบต่อกันเป็นช่วง ๆ ไป เมื่อระบบสังคมใดเก่าแก่ถึงปานนั้นแล้ว ก็จะต้องเปลี่ยนแปลงโดยมีระบบที่ใหม่ดียิ่งกว่า ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงจากกฎแห่งอนิจจังไปไม่พ้น...


หนังสือ "ความเป็นอนิจจังของสังคม" เล่มนี้ ได้วิเคราะห์สภาพการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยอย่างเป็นระบบ และแสดงให้เห็นมูลเหตุที่มา ของความจำเป็นที่ต้องมีความเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปรัชญาสังคมที่ "ปรีดี พนมยงค์" ใช้วิเคราะห์มาจากกฎแห่งความเป็นอนิจจัง อันเป็นกฎของพุทธศาสนาสอดคล้องกับกฎวิทยาศาสตร์สังคมของเมธีตะวันตก ที่รู้จักกันในนาม "ลัทธิมาร์กซิสม์" 


สารบัญ


บทที่ 1 กฎแห่งการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งทั้งหลาย

บทที่ 2 หลักฐานที่คนรุ่นปัจจุบันสามารถค้นคว้าและประสบด้วยตนเองถึงการที่สังคมไทยเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดยั้ง

บทที่ 3 ที่มาของมนุษยชาติกับมนุษยสังคม

บทที่ 4 สัญลักษณ์พิเศษของมนุษย์แต่ละสังคม

บทที่ 5 สมุฏฐานของมนุษย์และมนุษยสังคม

บทที่ 6 วรรณะ ฐานันดร ชนชั้น

บทที่ 7 รากฐานของสถาบันการเมือง

บทที่ 8 ทรรศนะทางสังคม

บทที่ 9 ความเกี่ยวโยงระหว่างเศรษฐกิจ การเมืองและทรรศนะสังคม

บทที่ 10 วิถีแห่งอาการเคลื่อนไหวของสังคม

บทที่ 11 ประติการ = ไดอาเล็คติคส์

บทที่ 12 ทฤษฎีแห่ง "วิชชา" หรือ "สัมวุทธิวิทยา"

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง
คุณกำลังรีวิว:ความเป็นอนิจจังของสังคม | ปรีดี พนมยงค์
คะแนนของคุณ