Kledthai.com

ตะกร้า 0

ชาตินิยมในลาตินอเมริกา: กระแสลมแห่งความซับซ้อน (ปกแข็ง) ***สินค้าหมด***

ISBN: 9786168215371

ผู้แต่ง : ตรีเทพ ศรีสง่า [บรรณาธิการ]

ผู้แปล : -

สำนักพิมพ์ : ILLUMINATIONS EDITIONS

ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2564

จำนวนหน้า : 200

ซีรี่ส์:
-
พร้อมส่ง
ISBN:
9786168215371
ราคาพิเศษ ฿306.00 ราคาปรกติ ฿340.00

หนังสือเล่มนี้เป็นการรวมบทความแปลที่ศึกษาเรื่องชาติ รัฐชาติ และชาตินิยมในลาตินอเมริกา โดยมุ่งเน้นวิพากษ์ทฤษฎีของเบเนดิกต์ แอนเดอร์สันใน ชุมชนจินตกรรม เป็นหลัก ดังที่กล่าวไว้ในช่วงแรกของบทนี้แล้วว่านักวิชาการที่ศึกษาลาตินอเมริกาจำนวนมาก แม้จะเห็นด้วยกับแอนเดอร์สันในทฤษฎีของเขาในองค์รวมบ้างไม่มากก็น้อย แต่ในเชิงรายละเอียดส่วนที่แอนเดอร์สันอ้างถึงครีโอลลาตินอเมริกาในฐานะที่เป็น “ผู้ริเริ่ม” อุดมการณ์ชาตินิยมนั้น ขัดต่อข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ของลาตินอเมริกาอยู่หลายจุด บทความในบทต่อ ๆ ไปนั้นจึงจะชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของทฤษฎีชุมชนจินตกรรมในหลาย ๆ ประเด็นด้วยกัน โดยสามารถกล่าวโดยคร่าว ๆ เป็นสามประเด็น อันได้แก่ (1) บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในลาตินอเมริกาช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และต้น 19 (2) ความแตกต่างของจิตสำนึกความเป็นชาติในหมู่ครีโอลและในหมู่ประชากรกลุ่มอื่น ๆ และ (3) บทบาทของศาสนาในการสร้างชาติ โดยเฉพาะในบทที่สอง ที่จะชี้ให้เห็นอิทธิพลของศาสนาโรมันคาทอลิกซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญต่อการสร้างจิตสำนึกความเป็นชาติในประเทศอย่างเช่นเม็กซิโกและเปรู

 

หนังสือ ชาตินิยมในลาตินอเมริกา: กระแสลมแห่งความซับซ้อน ปกแข็ง มาพร้อมที่คั่นหนังสือ 1 ชิ้น

หากจะให้หยิบยกหัวข้อการศึกษาทางด้านมนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ที่เป็นที่ถกเถียงทั้งในวงวิชาการทั่วโลกอย่างไม่เคยหยุดหย่อนขึ้นมาสักข้อหนึ่ง ก็คงหนีไม่พ้นการศึกษาเรื่อง “ชาติ” เป็นแน่ ไม่ว่าจะบนท้องถนน รัฐสภา โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งในโลกออนไลน์ “ชาติ” เป็นสิ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวอ้างกันอยู่เสมอ “ชาติคืออะไร” “ชาติประกอบด้วยอะไร” และ “เมื่อไหร่คือชาติ” เป็นคำถามที่ถามกันมาหลายต่อหลายปีแล้ว นักวิชาการจำนวนไม่น้อยทั้งจากสายสังคมวิทยา ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และรัฐศาสตร์ ต่างพากันพยายามเฟ้นหาคำอธิบายให้กับชุดคำถามเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นเออร์เนสต์ เรอนอง (Ernest Renan) เออร์เนสต์ เกลเนอร์ (Ernest Gellner) แอนโธนี สมิธ (Anthony Smith) เอริค ฮอบส์บอว์ม (Eric Hobsbawm) คลิฟฟอร์ด เกียร์ซ (Clifford Geertz) แต่งานชิ้นสำคัญที่สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับวงการศึกษาอุดมการณ์ชาตินิยมย่อมหนีพ้นงานเรื่อง ชุมชนจินตกรรม: บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม (Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism) ของเบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน (Benedict Anderson) นักประวัติศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา ผู้เป็น “ครู” ของนักวิชาการไทยสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์หลายต่อหลายคน

 

งานการศึกษา “ชาตินิยม” หลายชิ้นใช้ยุโรปและประเทศที่ประกาศตัวเป็นเอกราชจากเจ้าอาณานิคมหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเฉพาะในเอเชียและแอฟริกา เป็นพื้นที่หลักในการศึกษา ภูมิภาคอย่างลาตินอเมริกามักเป็นแค่เพียง “ข้อยกเว้น” หรือไม่ก็ถูกลดความสำคัญลงเป็นเชิงอรรถขนาดไม่กี่บรรทัดบริเวณท้ายสุดของหน้าแต่เพียงเท่านั้น แต่ในบทที่สี่ของ Imagined Communities ที่ชื่อว่า “Creole Pioneers” แอนเดอร์สันได้หยิบยกลาตินอเมริกากลับเข้ามาสู่วงการถกเถียงเรื่องชาตินิยมอีกครั้งอย่างน่าสนใจ ทว่านักวิชาการแทบทุกแขนงที่ศึกษาลาตินอเมริกากลับไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของแอนเดอร์สันที่ให้ไว้เกี่ยวกับที่มาที่ไปของชาตินิยมในลาตินอเมริกา ถึงกับว่ามีการจัดประชุมวิชาการขึ้นในช่วงต้นปี ค.ศ. 2000 เพื่อพูดคุยถกเถียงกันว่าที่มาและทฤษฎีของแอนเดอร์สันที่ให้ไว้ใน Imagined Communities นั้นสอดคล้องกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ของลาตินอเมริกามากน้อยหรือไม่อย่างไร

 

หนังสือเล่มนี้เป็นการรวมบทความแปลที่ศึกษาเรื่องชาติ รัฐชาติ และชาตินิยมในลาตินอเมริกา โดยมุ่งเน้นวิพากษ์ทฤษฎีของเบเนดิกต์ แอนเดอร์สันใน ชุมชนจินตกรรม เป็นหลัก ดังที่กล่าวไว้ในช่วงแรกของบทนี้แล้วว่านักวิชาการที่ศึกษาลาตินอเมริกาจำนวนมาก แม้จะเห็นด้วยกับแอนเดอร์สันในทฤษฎีของเขาในองค์รวมบ้างไม่มากก็น้อย แต่ในเชิงรายละเอียดส่วนที่แอนเดอร์สันอ้างถึงครีโอลลาตินอเมริกาในฐานะที่เป็น “ผู้ริเริ่ม” อุดมการณ์ชาตินิยมนั้น ขัดต่อข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ของลาตินอเมริกาอยู่หลายจุด บทความในบทต่อ ๆ ไปนั้นจึงจะชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของทฤษฎีชุมชนจินตกรรมในหลาย ๆ ประเด็นด้วยกัน โดยสามารถกล่าวโดยคร่าว ๆ เป็นสามประเด็น อันได้แก่ (1) บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในลาตินอเมริกาช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และต้น 19 (2) ความแตกต่างของจิตสำนึกความเป็นชาติในหมู่ครีโอลและในหมู่ประชากรกลุ่มอื่น ๆ และ (3) บทบาทของศาสนาในการสร้างชาติ โดยเฉพาะในบทที่สอง ที่จะชี้ให้เห็นอิทธิพลของศาสนาโรมันคาทอลิกซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญต่อการสร้างจิตสำนึกความเป็นชาติในประเทศอย่างเช่นเม็กซิโกและเปรู

 

ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่นำมาสู่ข้อสรุปที่ว่าชาตินิยมในลาตินอเมริกานั้นไม่ได้เกิดขึ้นหรือริเริ่มในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดังที่แอนเดอร์สันชี้ไว้ หากแต่เป็นในศตวรรษต่อมาเสียต่างหาก

 

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

โดย ตรีเทพ ศรีสง่า

 

บทที่ 2 ชาตินิยมในลาตินอเมริกา

โดย ฟรานซิสโก โกลอม กอนซาเลซ

แปลโดย รวิตะวัน โสภณพนิช

 

บทที่ 3 ประวัติศาสตร์นิพนธ์อุดมการณ์ชาตินิยม และอัตลักษณ์ประจำชาติในลาตินอเมริกา

โดย นิโคลา มิลเลอร์

แปลโดย ตรีเทพ ศรีสง่า

 

บทที่ 4 กระแสลมแห่งความ ซับซ้อน ของ ชาติ จากลาตินอเมริกา

โดย ธเนศ วงศ์ยานนาวา

 

บทที่ 5 ชาตินิยมและการสร้างชาติ ในประวัติศาสตร์ลาตินอเมริกา

โดย เดวิด เอ. แบรดดิง

แปลโดย ณรงเดช พันธะพุมมี

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง
คุณกำลังรีวิว:ชาตินิยมในลาตินอเมริกา: กระแสลมแห่งความซับซ้อน (ปกแข็ง) ***สินค้าหมด***
คะแนนของคุณ